1. สร้างความสนใจ (Engagement)
ให้นักเรียนดูภาพ 2 ภาพมาเปรียบเทียบกัน คือภาพตะเกียงเดินยามสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กับตะเกียงเดินยามในปัจจุบัน แล้วถามนักเรียนว่าเห็นภาพแล้วรู้สึกอย่างไรกับภาพที่เห็น
นักเรียนลองวิเคราะห์ถึงข้อแตกต่างหรือเหมือนกันของ 2 ภาพ


ครูบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงของภาพหรือก็คือ เวลา ที่เป็นตัวการสำคัญที่เห็นได้เด่นชัดว่า ภาพมีการเปลี่ยนแปลงไป
2. สำรวจและค้นหา (Exploration)
นำนักเรียนไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อทำใบงานที่ 1 หาชื่อสืบอดีตสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบงาน
-1723607681.png)
-1723607705.png)
3. อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
ครูสอนนักเรียนในเรื่องของการนับศักราช แบบไทย ได้แก่ จุลศักราช (จ.ศ.), มหาศักราช (ม.ศ.), รัตนโกสินทร์ศก (จ.ศ.), พุทธศักราช (พ.ศ.) โดยการสอนเปรียบเทียบและแปลงศักราช
ให้นักเรียนทำใบงานที่ 2 ท่องเวลา...มุ่งหน้าหาอนาคต เพื่อสรุปและฝึกการคิดเทียบศักราช
ครูสอนนักเรียนในเรื่องของการนับศักราช แบบไทย ได้แก่ จุลศักราช (จ.ศ.), มหาศักราช (ม.ศ.), รัตนโกสินทร์ศก (จ.ศ.), พุทธศักราช (พ.ศ.) โดยการสอนเปรียบเทียบและแปลงศักราช
ให้นักเรียนทำใบงานที่ 2 ท่องเวลา...มุ่งหน้าหาอนาคต เพื่อสรุปและฝึกการคิดเทียบศักราช
-1723607735.png)
-1723607781.png)
4. ขยายความรู้ (Elaboration)
ครูลองให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่า “เวลามีความสำคัญกับเราอย่างไร”
แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า เราจะนำความรู้เรื่อง การนับศักราช ไปใช้ได้อย่างไรและด้านไหนได้บ้าง
5. ประเมิน (Evaluation)
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบจำนวน 10 ข้อ ประเมินผลว่านักเรียนเข้าใจ เรื่อง การนับและแปลงศักราชแบบไทยมากน้อยแค่ไหน
ครูลองให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่า “เวลามีความสำคัญกับเราอย่างไร”
แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า เราจะนำความรู้เรื่อง การนับศักราช ไปใช้ได้อย่างไรและด้านไหนได้บ้าง
5. ประเมิน (Evaluation)
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบจำนวน 10 ข้อ ประเมินผลว่านักเรียนเข้าใจ เรื่อง การนับและแปลงศักราชแบบไทยมากน้อยแค่ไหน