ขั้นที่ 1 นำเสนอสถานการณ์ปัญหาและบทบาทสมมติ ผู้สอนนำเสนอ
1. นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปางพระพุทธรูป
2. มอบหมายงานให้ผู้เรียนไปสืบค้นปางพระพุทธรูปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เพื่อมา ทำการแสดงในชั้นเรียนเรื่องพุทธประวัติในปางต่างๆ
ขั้นที่2 เลือกผู้แสดง
1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม3-4คน
2.ให้นักเรียนตกลงกันว่าจะเลือกหัวข้อไหน (ถ้าตกลงกันไม่ได้จะให้นักเรียนสุ่ม)
3.เลือกแบบคละเพศ คละความสามารถ ตามความเหมาะสมแก่ผู้เรียน
4.แจกใบงานที่1 ปางพระพุทธรูปหรรษา โดยให้นักเรียนค้นคว้า สรุปผลพุทธประวัติ ตามปางที่นักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับ มี7ปางได้แก่ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางประทับยืน ปางลีลา ปางป่าเลไลยก์ ปางนาคปรก และปางไสยาสน์
5.แบ่งหน้าที่สมาชิกในกลุ่มดังนี้
กลุ่มที่1 ปางมารวิชัย
1.พระพุทธเจ้า นักเรียน A
2.มาร นักเรียน B
3.คนบรรยาย นักเรียน C
กลุ่มที่2 ปางสมาธิ
1.พระพุทธเจ้า นักเรียน A
2.มาร นักเรียน B
3.เทวดา นักเรียน C
กลุ่มที่3 ปางประทับยืน
1.พระพุทธเจ้า นักเรียน A
2.ชาวบ้าน นักเรียน B
3.ศิษย์ นักเรียน C
กลุ่มที่4 ปางลีลา
1.พระพุทธเจ้า นักเรียน A
2.บรรพชิต นักเรียน B
3.ผู้ชม นักเรียน C
กลุ่มที่5 ปางป่าเลไลยก์
1.พระพุทธเจ้า นักเรียน A
2.บรรพชิต นักเรียน B
3.ชาวบ้าน นักเรียน C
กลุ่มที่6 ปางนาคปรก
1.พระพุทธเจ้า นักเรียน A
2.นาค นักเรียน B
3.บรรพชิต นักเรียน C
4.ชาวบ้าน D
กลุ่มที่7 ปางไสยาสน์
1.พระพุทธเจ้า นักเรียน A
2.อสูร นักเรียน B
3.บรรพชิต นักเรียน C
ขั้นที่3 จัดฉาก
ให้ผู้เรียนจัดเตรียมฉากหรืออุปกรณ์การแสดงเกี่ยวกับพุทธประวัติ ตามความเหมาะสมของสถานที่และงบประมาณ
ให้ผู้เรียนเตรียมดังนี้
1.บทพูด
2.เครื่องแต่งกาย
3.ฉากการแสดง
4.บทบรรยาย
ขั้นที่4 เตรียมผู้สังเกตการณ์
ระหว่างที่ผู้แสดงทำการแสดง ให้ผู้เรียนทุกคนนั่งชมอย่างสงบ จัดรูปแบบการนั่งแบบครึ่งวงกลมเพื่อให้นักเรียนสามารถเห็นทุกคน และวิเคราะห์การแสดงเพื่อเขียนสรุปเนื้อหาเรื่องราวของกลุ่มอื่นๆที่แสดงในท้ายชั่วโมง
ขั้นที่5 แสดง
เรียนจะมีเวลาเตรียมตัว 1 สัปดาห์ ในการศึกษาและจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อการแสดง ในแต่ละกลุ่มจะมีเวลากำหนดอยู่ที่10-15นาที
ครูมอบหมายให้นักเรียนแสดง
1.แบ่งบทบาท
2.ซ้อมการแสดง
3.เตรียมอุปกรณ์ประกอบฉาก ฉากหลัง เครื่องแต่งกาย
ก่อนแสดง
1.กล่าวแนะนำตัวชื่อสกุล บทบาทที่แสดง
2.จัดสถานที่ให้เข้ากับเรื่องที่ได้แสดง
1.แสดงตามบทที่กำหนดไว้ คือ พุทธประวัติของปางที่ได้
เนื้อเรื่องหลัก: การแสดงช่วงที่พระพุทธเจ้าแสดงปางต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญในพุทธศาสนา
บทละคร: เขียนหรือดัดแปลงบทละครที่สะท้อนเนื้อเรื่องหลักอย่างเข้าใจง่าย
2.อออกมาแสดงหน้าชั้นเรียน
3.แสดงอย่างไหลลื่น
4..พูดอย่างชัดเจน
จบการแสดง
1.กล่าวขอบคุณ
2. พูดสรูป
ขั้นที่ 6 อภิปรายและประเมินผล
ให้ตัวแทนของกลุ่มกล่าวอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่ปิดกั้นความคิดเห็นของกลุ่มแสดง
ขั้นที่ 7 แสดงเพิ่มเติม
ให้นักแสดง แสดงเพิ่มเต็มในสิ่งที่ผิดพลาด
ขั้นที่ 8 อภิปรายและประเมินผลอีกครั้ง
ให้ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงเพิ่มเติม พร้อมทั้งมอบหมายให้ทำใบงานที่2 สรุปผล
ขั้นที่ 9 แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุปการเรียนรู้
เมื่อแสดงจบทุกกลุ่ม ให้ผู้แสดงออกความคิดเห็นและความรู้ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้โดยไม่ปิดกันความคิดเห็นของ
นักเรียน และครูทบทวนข้อดีและข้อที่ควรปรับปรุงสำหรับการแสดงในอนาคต