ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความเข้าใจ (Engagement)
ก่อนที่ครูจะนำนักเรียนไปพิพิธภัณฑ์สิรินธร ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ภูคุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ จะต้องดึงความสนใจผู้เรียนก่อนออกเดินทาง โดยให้นักเรียนดูภาพนั้นเป็นภาพอะไร และชวนให้นักเรียน แสดงความเห็นว่าพบมานานแล้วกี่ปีลงในกระดาษทั้งนี้ยังไม่เฉลยท้าทายให้นักเรียนไปดูของจริงเพื่อค้นหาคำตอบ
ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (Exploration)
ครูท้าทายให้นักเรียนหาคำตอบที่อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์สิรินธรซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ภูคุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ โดยมีใบงานให้นักเรียน
ใบงานที่ 1 วาดภาพซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่นักเรียนพบเห็น
ใบงานที่ 2 ค้นหาและบันทึกความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์สิรินธรและซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์
ใบงานที่ 1
ใบงานที่ 1 (เฉลย)
ใบงานที่ 2
ใบงานที่ 2 (เฉลย)
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
เมื่อกลับสู่ห้องเรียน ให้นักเรียนจับกลุ่ม 5-6 คน และนำใบงานที่ 1 ภาพซากดึกดำบรรพ์ของแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน แต่ละกลุ่มใช้กระดาษแผ่นใหญ่วาดรูปซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์เป็นผลงานกลุ่มแล้วนำไปติดหน้าชั้นเรียน ครูเปิดภาพไดโนเสาร์เพื่อเปรียบเทียบและให้นักเรียนร่วมชมเชยผลงานของแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้อาจโหวตให้คะแนนหรือรางวัล
นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลที่บันทึกลงในใบงานที่ 2 โดยร่วมกันอภิปรายว่ามีส่วนไหนของซากไดโนเสาร์ที่ยังไม่ได้วาดบ้าง
ครูสังเกตใบงานของนักเรียนและสุ่มเรียกนักเรียน 1 คน ให้บอกสัตว์ 1 กระดูกส่วนใดของไดโนเสาร์ที่บันทึกไว้ จากนั้นถามเพื่อนในห้องว่ามีใครได้ข้อมูลเหมือนหรือต่างจากเพื่อนอย่างไร ทั้งนี้ครูบันทึกคำตอบของนักเรียนลงกระดาน แล้วสุ่มเรียกนักเรียนจนครบกระดูกส่วนต่าง ๆ ของไดโนเสาร์ ทั้งนี้หากคำตอบที่นักเรียนบันทึกไว้ไม่ครบสมบูรณ์ครูควรเปิดภาพซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์เพื่อให้นักเรียนสังเกตเพิ่มเติม
ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนสรุปร่วมกัน ดังนี้
1. กระดูกส่วนที่พบมีส่วนใดบ้าง
2. นักเรียนร่วมกันสรุปจากข้อมูลที่พบจากพิพิธภัณฑ์สิรินธร
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration)
นักเรียนนำข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่มีอยู่จริงสรุปได้ และจากการอบหมายให้ไปค้นคว้า สังเกตซากของสัตว์ในชีวิตจริงว่าเหมือนหรือต่างกันกับซากไดโนเสาร์หรือไม่ และแลกเปลี่ยนคำตอบและอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครูนำภาพถ่ายซากกระดูกสัตว์ที่มีอยู่ในชีวิตจริงให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในแต่ละประเด็นสัตว์แต่ละชนิดมีกระดูกเช่น ฟัน ซี่โครง หาง คอ สะโพก เหมือนกันหรือไม่แตกต่างกันอย่างไร โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย
ขั้นที่ 5 ประเมิน (Evaluation)
นักเรียนทำใบงานที่ 3 สรุปค้นคว้าหาไอเดีย โดยบันทึกสรุปข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์และซากโครงกระดูกสัตว์จากอาหารที่เรารับประทาน เลือกมา 1 ชนิดที่นักเรียนสนใจ และค้นคว้าข้อมูลว่าสัตว์ชนิดนั้นมีลักษณะซากของโครงกระดูกเป็นอย่างไร
ใบงานที่ 3