ความหลากหลายในสามชุนชนย่านกุฎีจีน
การลงสำรวจพื้นที่ครั้งนี้เริ่มจากการที่หนูและเพื่อนๆสนใจในเรื่องสถาปัตยกรรม ศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พวกเราจึงได้เริ่มค้นหาพื้นที่ชุมชนที่ตอบโจทย์ในสิ่งที่หนูและเพื่อนๆสนใจ จนได้มาเจอกับชุมชนกุฎีจีนซึ่งเป็นชุมชนที่ถูกพูดถึงด้วยคำว่า “3 ศาสนา 4 ความเชื่อ” พวกเราจึงได้เริ่มวางแผนลงพื้นที่สำรวจและไปลงพื้นที่ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2567
โดยในตอนแรกพวกเราเข้าใจว่าคำว่า “3 ศาสนา 4 ความเชื่อ” นี่หมายถึงการที่มี 3 ศาสนา และ 4 ความเชื่อภายในชุมชนเดียวก็คือในชุมชนกุฎีจีน แต่การลงพื้นที่นี้ทำให้พวกเราได้รู้ว่ามันไม่ได้หมายความแบบนั้น แต่เป็นชุมชน 3 ชุมชนต่างหากที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันและถูกเรียกรวมๆว่าชุมชนกุฎีจีน โดย 3 ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่นี่ก็จะมี ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนกุฎีขาว และชุมชนวัดกัลยาณมิตร
พวกเราได้เริ่มต้นการเดินทางโดยการนั่งแท็กซี่จากโรงเรียนเพลินพัฒนาไปที่ชุมชนกุฎีจีนไปลงที่โบสถ์ซางตาครู้สหวังว่าจะได้เข้าไปเดินดูภายในโบสถ์ แต่ก็โชคร้ายเพราะว่าโบสถ์ปิด พวกเราเลยเดินเข้าไปสำรวจภายในชุมชนเบื้องต้นและได้เข้าไปในบ้านเก่าที่เขานำมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับชุมชน ทำให้ได้รู้ประวัติศาสตร์ของชุมชนนี้ว่าความจริงแล้วต้นกำเนิดเป็นชุมชนของชาวโปรตุเกส เมื่อมาถึงก็ได้ไปนั่งที่ร้านคาเฟ่ในชุมชนและได้เริ่มพูดคุยกับคุณป้าเจ้าของคาเฟ่และได้รับรู้ข้อมูลและปัญหาต่างๆภายในชุมชน หลังจากนั้นก็ได้เดินสำรวจชุมชนและสัมภาษณ์ผู้คนในชุมชน จากการเดินสำรวจและสัมภาษณ์รู้สึกกว่าชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนที่มีความสะอาดมาก ซึ่งชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนของคนศาสนาคริสต์และเป็นชุมชนที่ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมาย ผู้คนในชุมชนอยู่กันอย่างสงบสุข และเป็นชุมชนที่ได้รางวัลชุมชนที่สะอาดที่สุด แต่ก็ได้ทราบถึงปัญหามาจากชาวบ้านอยู่ 1 อย่างคือหลังๆเริ่มมีเด็กแว้นมาส่งเสียงดังรบกวน สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในเวลากลางคืน
ต่อมาพวกเราก็ได้เดินตามทางสะพานริมน้ำมาเรื่อยๆเพื่อที่จะไปชุมชนวัดกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นชุมชนของชาวคริสต์ โดยระหว่างทางก็ได้ผ่านศาลเจ้าศาลเจ้าหนึ่งซึ่งดูมีความเก่าแก่ จึงได้เข้าไปสำรวจและถ่ายรูป และได้เดินต่อไปถึงวัดกัลยาณมิตร พอถึงบริเวณวัดก็ได้เดินสำรวจภายในบริเวณวัดและสัมภาษณ์ชาวบ้านในบริเวณโดยรอบ ชาวบ้านก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่าไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมาย แต่ก็จะมีเรื่องไม่ค่อยมีพื้นที่สาธารณะใช้เพราะพื้นที่ที่ใช้อยู่อาศัย เป็นพื้นที่ของทางวัด ถ้าหากวัดจะใช้ ชาวบ้านก็ไม่สามารถใช้ได้
หลังจากที่สัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชนวัดกัลยาณมิตรเสร็จ พวกเราก็เดินทะลุผ่านซอยเล็กๆ ข้ามถนน ไปที่ชุมชนกุฎีขาว โดยระหว่างทางก็รู้สึกไม่ค่อยปลอดภัยด้วยสภาพแวดล้อมที่ดูไม่ค่อยสะอาดมากนัก และผู้คนอยู่กันแบบแออัดภายในซอยเล็กๆตลอดทาง พอถึงชุมชนกุฎีขาวซึ่งเป็นชุมชนของชาวมุสลิม สิ่งแรกที่เรารู้สึกเลยคือรู้สึกว่าเป็นชุมชนที่แออัดและดูไม่ค่อยน่าอยู่เมื่อเทียบกับชุมชนกุฎีจีน พวกเราต้องเดินเข้าไปค่อนข้างลึกจนถึงบริเวณมัสยิด และเริ่มสัมภาษณ์ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณนั้น โดยเมื่อสัมภาษณ์แล้วก็ได้ทราบถึงปัญหาของชุมชนนี้ซึ่งมีค่อนข้างเยอะ อย่างแรกเลยคือเรื่องของความสะอาดภายในชุมชน เรื่องการบำรุงรักษาที่อยู่อาศัย การจัดการขยะ & สิ่งสกปรก และสิ่งที่น่าสนใจมากคือการปรังปรุงแผนผังชุมชนใหม่
จากการเดินสำรวจชุมชนทั้ง 3 ชุมชนทำให้พวกเราได้เห็นการเป็นอยู่ของผู้คนบางส่วนในกรุงเทพฯที่เราไม่เคยเห็นและไม่เคยรับรู้มาก่อนว่าพวกเขาอยู่อาศัยกันอย่างไร และยังทำให้เราได้ทราบปัญหาเล็กและใหญ่ที่เกิดขึ้นภายในชุมชนต่างๆ อีกด้วย นอกจากนี้ การสำรวจครั้งนี้ยังทำให้เราได้เห็นความหลากหลายของผู้คนที่อยู่กันอย่างสงบสุขภายในบริเวณเดียวกัน แม้ว่าจะมีความแตกต่างในเรื่องศาสนาและวัฒนธรรม แต่ทุกชุมชนก็สามารถอยู่ร่วมกันได้