รูปแบบการสอน : 5E
ขั้นที่1 : การสร้างความสนใจ(Engagement)
ครูสนทนาถึงรูปที่นักเรียนชอบวาด และครูวาดรูปภาพลงบนกระดานให้นักเรียนดูและได้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่ารูปนั้นคืออะไร
เมื่อนักเรียนเห็นรูปและตอบครูว่า รูปที่ 1 หมายถึงมนุษย์ในสมัยก่อนใส่ชุดพิธีกรรม
รูปที่ 2 หมายถึงคนกำลังขี่หลังสัตว์
รูปที่ 3 หมายถึงกวางกำลังนอนหมอบ
เมื่อครูฟังนักเรียนตอบคำถามเสร็จ ครูจึงบอกนักเรียนว่าใช่แล้ววันนี้เราจะมาเรียนเรื่องการวาดภาพผนังถ้ำนั้นเอง โดยเราจะมาเรียนรู้วิถีชีวิตและพิธีกรรมของคนสมัยก่อนจากภาพนั้นเอง เมื่อนักเรียนฟังครูพูดจบ นักเรียนจึงสงสัยว่า แค่ภาพจะทำให้เราเรียนรู้วิถีชีวิตและพิธีกรรมของคนในสมัยก่อนได้จริงหรือและสงสัยว่าทำไมต้องเรียนรู้จากภาพ
ขั้นที่ 2 (Exploration)
ครูให้นักเรียนศึกษาหาความรู้เรื่องภาพวาดผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี พร้อมให้ใบงานแก่นักเรียน
ครูให้ใบงานที่ 1 ศึกษาสำรวจภาพ ชุดที่ A. B. C. D. E. ให้นักเรียนศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภาพผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์และความหมายของภาพพร้อมบันทึกลงในใบงาน
ครูปล่อยให้นักเรียนได้เดินชมและศึกษาหาความรู้ในพิพิธฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตามอัธยาศัย
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป(Explanation)
เมื่อนักเรียนกลับสู่ห้องเรียนครูได้แบ่งกลุ่ให้นักเรียนจำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยครูเลือกแหล่งการเรียนศิลปะผนังถ้ำให้นักเรียนว่าสามารถตีความหมายได้ว่าอย่างไร กลุ่มละ 1 แหล่งการเรียนรู้โดยให้นักเรียนช่วยกัน เปรียบเทียบแหล่งการเรียนรู้ ที่ได้รับและให้นักเรียนสรุปลงกระดาษแผ่นใหญ่และส่งตัวแทนมานำเสนอหน้าห้องเรียน
เมื่อกลุ่มที่นำเสนอเสร็จครูจะเปิดโอกาส ให้เพื่อนที่นั่งสอบถามถึงเรื่องที่ไม่เข้าใจและช่วยกันเสนอความคิดเห็นว่าควรจะเสริมเนื้อหาตรงไหน
เมื่อนักเรียนแรกเปลี่ยนข้อมูลกันเสร็จแล้ว ครูถามถึงภาพแต่ละภาพว่ามีความหมายสื่อถึงสิ่งใดบ้าง ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ให้นักเรียนช่วยกันแยกประเภทความหมายของรูปภาพและสาเหตุที่สมัยก่อนที่มีแต่ภาพวาดผนังถ้ำและการวาดผนังถ้ำในสมัยก่อนนั้นใช้สีอะไรวาด
เมื่อนักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเสร็จแล้ว ครูกล่าวชมเชยนักเรียนและครูร่วมกันกับนักเรียน สรุปเพิ่มเติมว่าสาเหตุที่สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น มีแต่ภาพวาดผนังถ้ำเพราะว่า ยังไม่มีตัวอักษร และยังไม่รู้จักภาษาเขียนในการสื่อสาร มีการใช้เพียงสีที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น สีแดงเข้มได้จากยางไม้ธรรมชาติ สีดำได้จากถ่านหิน สีแดงได้มาจากเลือดสัตว์หรือดินเทศ ที่บันทึกลงผนังถ้ำให้เราได้ศึกษาจากผนังถ้ำในปัจจุบันนั้นเอง
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้(Elaboration)
เมื่อนักเรียนสามารถแบ่งประเภท ของรูปภาพได้แล้วว่าภาพไหนสื่อถึงวิถีชีวิต และภาพไหนสื่อถึงพิธีกรรมและประเพณี ครูให้นักเรียนร่วมกันอธิบายถึงวิถีชีวิตและประเพณีในสมัยก่อนและในสมัยปัจจุบันนั้น มีความเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหน
ครูถามกับนักเรียนว่านักเรียนภูมิใจหรือไม่ที่มีภาพวาดสีผนังถ้ำให้เราได้ศึกษาและนักเรียนคิดว่าภาพวาดสีผนังถ้ำนั้นมีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์หรือไม่เพราะอะไร
หากนักเรียนไปเยี่ยมชมภาพวาดสีผนังถ้ำนักเรียนจะมีวิธีการอนุรักษ์ภาพสีผนังถ้ำให้อยุ่ในสภาพสมบูรณ์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาอย่างไร
ขั้นที่ 5 ประเมิน(Evaluation)
ครูแจกใบงานที่ 2 ภาพเล่าเรื่องวิถีชีวิตและพิธีกรรมหรรษา ให้นักเรียนจำแนกความหมายของภาพว่าภาพไหนสื่อถึงวิถีชีวิตและภาพไหนสื่อถึงพิธีกรรมลงในใบงานให้สมบูรณ์
เมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้วให้นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเฉลยร่วมกัน