ประวัติศาสตร์ชุมชน
ตำบลดงเมืองแอม มีทั้งหมด 15 หมู่บ้านอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเขาสวนกวางชุมชน บ้านดงเมืองแอมถือว่า เป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ภายในบริเวณบ้านดงเมืองแอมมีการ พบซากโบราณสถานอยู่ริมถนน ตรงปากทางเข้าไปในเขตเมืองโบราณ อีกแห่งหนึ่งเป็นซาก โบราณสถานซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดศรีเมืองแอม ภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองโบราณ ตำบลดงเมืองแอมเป็นตำบลที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานและได้รับการยอมรับว่าพื้นที่ ตำบลดงเมืองแอมในอดีตนั้นเคยรุ่งเรื่องเป็นเมืองเก่าตั้งแต่สมัยทวาราวดี (อาณาจักรเจนละ) มีอายุ ประมาณ 1,200-1,400 ปี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งคือ จารึกของพระเจ้าจิตรเสน ซึ่งปัจจุบันเก็บ รักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณดงเมืองแอม บ้านดงเมืองแอม หมู่ที่ 1
ชุมชนบ้านดงเมืองแอมมีลักษณะเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยผัง เมืองมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ โดยมีความกว้างบางตามแนวตะวันออก ตะวันตกประมาณ 2,400 เมตร และตามแนวเหนือได้ประมาณ 2,000 เมตร มีคูน้ำ 1 ชั้น และคันดิน 1 ชั้น ลักษณะของเมืองคล้าย เป็นรูปเมืองสองเมืองซ้อนทับกันอยู่ โดยส่วนของเมืองด้านตะวันตก คงจะถูกสร้างขึ้นก่อนแล้วจึงมี การขยายออกมาทางด้านทิศตะวันออก และด้านในนอกจากนั้นยังมีแนวคันดิน ต่อออกมาจากแนวคัน ดินที่เป็นกำแพงเมืองออกไปด้านทิศตะวันตกเฉียงได้ขนานไปกับลำห้วยเสือเต้น ตรงบริเวณบ้านค้อท่าโพธิ์ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านดงเมืองแอมไปประมาณ 500 เมตร แนวคันดินนี้มีบางท่านได้พิจารณาจากภาพถ่าย ทางอากาศแล้วระบุว่าเป็นเมืองโบราณอีกแห่งหนึ่งที่มีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมยาวรีกว้างประมาณ 600 เมตร และยาวประมาณ 2,000 เมตร บริเวณบ้านดงเมืองแอม พบซากโบราณห่างจากกำแพงเมือง ประมาณ 200 เมตร พบอิฐและศิลาแลงกระจายอยู่ทั่วไป และเมื่อประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมา ชาวบ้าน ได้ขุดค้นพบไหบรรจุพระพิมพ์ดินเผา จำนวนหนึ่งโดยบังเอิญขณะทำไร่นา มีลักษณะรูปร่างแตกต่าง กัน จำนวน 8 พิมพ์ เท่าที่พบเจอ และนอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบ เศษกระดูกของมนุษย์ และ เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ที่ผลิตมาจากสำริดและดินเผาในยุคโบราณ และอีกแห่งหนึ่งเป็นซาก โบราณซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดดงเมืองแอมในเขตหมู่บ้านดงเมืองแอม หมู่ที่ 1 พบศิลาจารึกหินปูนทรายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 30x78 เซนติเมตร มีสภาพลบเลือนจารึกด้วยอักษรปัลลวะ (อินเดียได้) ภาษาสันสกฤต จำนวน 3 บรรทัด ซึ่งมีอายุราว พุทธศตวรรษ 12-13 ภายในศิลาจารึก ความว่า พระองค์... ผู้มีนามปรากฏในด้านคุณธรรมแต่พระเยาว์ได้รับนามอันเกิดจากการอภิเษกว่า พระเจ้าเหนทรวรมันได้ สร้าง...อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์
พระเจ้าเหนทรวรมัน เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอาณาจักรเขมร ทรงครองราชย์อยู่ใน ราวศตวรรษที่ 11-12 นับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย ซึ่งแพร่ขยายอำนาจทางการเมือง และ วัฒนธรรมเข้ามาทางปากแม่น้ำมูล ครอบครองที่ราบสูงโคราชในสมัยนั้น นอกจากนี้ก็ยังพบเศษ ภาชนะดินเผาแบบเรียบ และแบบลายเชือกกาบ เมืองโบราณดงเมืองแอม จัดว่าเป็นเมืองที่มีอายุ ตั้งแต่สมัย ทวารวดี ถึงลพบุรีต่อเนื่องกัน (สาวิตรี ตลับแป้น, 2558)
บ้านดงเมืองแอมนั้นพึ่งได้มีการก่อตั้งเป็นชุมชนขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2402 โดยมีผู้นำชุมชนหรือ ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายพรหม พิมลี ต่อมาคือ นายบัวฮอง ดุจตรีเหมือน ต่อจากนั้น คือ นายทองแดง สีขาทุม และผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน คือ นายบุญจันทร์ สีหาบง ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน