ในหลายครั้งเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ ถกเถียง และแสวงหาวิธีการใหม่ๆ ในการขจัดความขัดแย้งนั้นให้หมดไป หรือพยายามจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวทางที่แต่ละว่าต้องการหรือเชื่อมั่นว่าเป็นทิศทางที่ถูกที่ควร
แนวคิดความขัดแย้งแบบวิภาษวิธี (Dialectic) คือ สภาวการณ์พื้นฐานที่เกิดความขัดแย้งขึ้นมา เกิดสภาวะการโต้แย้งพยายามที่จะขจัดสภาวการณ์ดังกล่าวให้จบไปจนนำไปสู่สภาวการณ์ใหม่ ต่อมาสภาวการณ์ใหม่ได้เกิดข้อขัดแย้งขึ้นจึงพยายามจะหาทางแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวจนเกิดเป็นสภาวการณ์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งกระทำการอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ข้อสรุป กล่าวคือความขัดแย้งทางสังคมมีอยู่ทั่วไปในสังคมโดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างผู้มีอำนาจและผู้ไร้อำนาจ ความขัดแย้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากการปะทะกันของสิ่งที่ตรงข้าม ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นข้อเท็จจริงชั่วขณะ เมื่อมีสิ่งมาหักล้างจะเกิดข้อเท็จจริงใหม่
สรุปแล้วแนวคิดวิภาษวิธี (Dialectic) คือการที่มีสถานการณ์หนึ่งดำเนินขึ้นในภาวะปกติ (สภาพปัจจุบัน Thesis) ต่อมาเกิดความตึงเครียดหรือสถานการณ์โต้แย้ง ข้อเสนอใหม่ๆ ที่มาต้าน (สภาพที่มาต้าน Antithesis) ทำให้เกิดการขัดกันระหว่าง 2 สถานการณ์ดังกล่าว สุดท้ายเกิดเป็นสภาพการณ์ใหม่ขึ้นมา (สภาพที่เกิดใหม่ Synthesis)
แผนภาพแสดงความขัดแย้งตามแนวคิดวิภาษวิธี