เทศกาลเซ็ตซึบุน (Setsubun) เป็นเทศกาลแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่จัดขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และถือเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวไปสูฤดูใบไม้ผลิ การเปลี่ยนผ่านของฤดูกาลนี้จึงเปรียบเสมือนกับการเริ่มต้นใหม่เป็นช่วงเวลาที่จะมีทำความสะอาดครั้งใหญ่เพื่อขจัดความโชคร้าย เพื่อต้อนรับความโชคดี พิธีปาถั่ว "มะเมะ-มาคิ" (Mamemaki) เป็นประเพณีหลักของเซ็ตซึบุนจะมีการใช้ถั่ว (โดยเฉพาะถั่วเหลือง) ในบางพื้นที่อาจจะใช้ถั่วลิสงแทน สำหรับคนญี่ปุ่นถั่วเหลืองถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมใช้เป็นส่วนผสมหลักในการทำอาหาร และถั่วเหลืองยังสามารถแปรรูปได้หลายรูปแบบ ถั่วเหลืองจึงถือเป็นอาวุธทรงพลังที่สามารถปราบปีศาจยักษ์ (Oni) และเป็นสัญลักษณ์ของการขับไล่สิ่งชั่วร้าย การปาถั่วสวมหน้ากากใบหน้ายักษ์หรือปีศาจ (Oni) จะตะโกนว่า "Oni wa soto! Fuku wa uchi!" ซึ่งหมายถึงปีศาจออกไป! โชคลาภเข้ามา!
ภาพ การปาถั่วใส่คนที่สวมหน้ากากใบหน้าปีศาจยักษ์ (Oni)
ที่มา https://metronine.osaka/en/article_tour/events-20210129-setsubun/
โอนิ (Oni) คือยักษ์ หรือปีศาจร้ายในตำนาน และนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นรูปร่างหน้าตาร่างกายประหลาด มีหลายสี นิสัยโหดร้าย และมักนำพาความโชคร้าย ความเลวร้ายต่าง ๆ มาสู่มนุษย์ โดยที่โอนิจะมีลักษณะคล้ายกับสัตว์ประหลาดร่างกายขนาดใหญ่พกกระบองเป็นอาวุธมีพละกำลังอย่างมหาศาล จึงทำให้ผู้คนหวาดกลัว และมักอาศัยอยู่ตามภูเขา ถ้ำ และสถานที่ที่ลึกลับห่างไกล
ภาพ เซสเซน โดจิ สละชีวิตให้กับปีศาจโอนิ วาดโดย Soga Shōhaku (1760–1849)
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Oni
ภาพ พระภิกษุคูไกสวดขับไล่ปีศาจโอนิ วาดโดย Hokusai (1730–1781)
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Oni
ในเทศกาลเซ็ตซึบุน จึงมักจะเห็นการสวมใส่หน้ากากโอนิทั้งสามสีที่มีความโดดเด่น ได้แก่
สีฟ้า แทนโชคร้ายและสิ่งไม่ดี ในหลายๆ บริบท โอนิสีฟ้าสื่อถึงภัยอันตรายหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต
สีแดง แทนโชคลาภและความโชคดี การขับไล่ปีศาจในเทศกาลเซ็ตซึบุนสำหรับหน้ากากสีแดงมักจะใช้เพื่อสื่อถึงการนำโชคลาภเข้ามาในชีวิตและการป้องกันสิ่งไม่ดี
สีเขียว แทนความท้าทายหรือตัวเลือกที่ต้องเผชิญในชีวิต บางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นตัวแทนของการต่อสู้กับอุปสรรค โดยแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งและการปรับตัว
ภาพคนสวมหน้ากากโอนิสีเขียว
ที่มา https://www.nippon.com/en/guide-to-japan/gu900080/setsubun-festivities-in-kyoto.html
หน้ากากโอนิจึงมีความสำคัญในเทศกาลเซ็ตซึบุนเป็นอย่างมากอย่างมาก นอกจากหน้ากากจะเป็นสัญลักษณ์ของปีศาจที่แทนโชคร้ายและสิ่งที่ไม่ดี ในอีกนัยหนึ่งก็ยังแทนการปกป้องคุ้มภัย การใช้หน้ากากช่วยสร้างบรรยากาศสนุกสนานในเทศกาลนี้ทำให้เห็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวญี่ปุ่นที่ถูกแฝงไปด้วยความเชื่อ เเง่คิดต่าง ๆ และยังถือเป็นการส่งต่อเพื่อให้รุ่นต่อไปได้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของเทศกาลนี้ และการสวมหน้ากากยังเป็นการนำเสนอให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่ว ทำให้ผู้คนมีความหวังในการเผชิญกับอุปสรรคในชีวิต ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรจึงได้นำหน้ากากยักษ์ญี่ปุ่น สีเขียว สีแดง รวบรวมเอาไว้ในกลุ่มหน้ากากยักษ์เพื่อใช้ในการศึกษาเรื่องราวและบทบาทของยักษ์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมต่าง ๆ
หน้ากากยักษ์ญี่ปุ่น สีเขียว จัดแสดง ณ นิทรรศการนานาหน้ากากทางมานุษวิทยา
หน้ากากยักษ์ญี่ปุ่น สีแดง จัดแสดง ณ นิทรรศการนานาหน้ากากทางมานุษวิทยา
อ้างอิง
https://archaeogo.org/2023/10/19/yokaiology_oni/
https://www.darkgloomyart.com/blogs/articles/dark-historical-japanese-artworks
https://www.maskmuseum.org/mask/japan-setsubun-oni-1/#google_vignette