ประวัติความเป็นมาของขวาน
ขวานเป็นเครื่องมือที่มีประวัติยาวนาน ใช้สำหรับตัดและหั่นไม้ และยังเคยใช้เป็นอาวุธด้วย ตัวขวานประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือ ส่วนหัวกับส่วนด้ามจับ ขวานเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยผ่อนแรง
ในสมัยโบราณ หัวขวานทำจากหินและผูกเข้ากับด้ามไม้ ส่วนขวานในยุคปัจจุบัน หัวมักทำจากเหล็กซึ่งมีความแข็งแรงและทนทานขึ้น ด้ามจับก็สามารถทำจากไม้หรือวัสดุสังเคราะห์ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ขวานมีทั้งแบบด้ามยาวและด้ามสั้น เพื่อให้เหมาะกับประเภทงานที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ใหญ่หรือการทำงานที่ต้องการความคล่องตัวในการใช้งานมากขึ้น
วิวัฒนาการของขวาน
ยุคหินเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่เริ่มมีการผลิตเครื่องมือ ซึ่งมีชื่อเรียกเช่นนี้เพราะเครื่องมือในยุคนั้นส่วนใหญ่ทำมาจากหิน โดยยุคหินสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วงหลัก ๆ ได้แก่
ยุคหินตอนต้น ในช่วงนี้มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และการตกปลา ยุคนี้เริ่มต้นตั้งแต่การผลิตเครื่องมือหินครั้งแรกเมื่อประมาณ 2.5 ล้านปีก่อน จนถึงปลายยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายประมาณ 10,000–11,000 ปีก่อน
ยุคหินตอนปลาย ยุคนี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเกษตรกรรม ซึ่งกลายเป็นปัจจัยหลักในการยังชีพ บางครั้งมีการพูดถึง “ยุคทองแดง” ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคหินไปสู่ยุคสำริดอีกด้วย
รูปที่ 1 Iron axe
หมายเหตุ. จาก https://hausoftools.com/blogs/news/the-history-and-evolution-of-the-axe?srsltid=AfmBOor6s_QlPYtwclbWAB78IRLIkC8nTdklCWhEHnmuVhTo_cHdTks6
ขวานที่จัดแสดง ณ นิทรรศการช่างคิด ช่างทำ ถือว่าเป็นขวานโลหะ มีด้วยกัน 2 ชิ้น คือ "ขวานที่ทำมาจากชิ้นส่วนรถไถ" และ "ขวานหัวค้อน"
ขวานที่ทำมาจากชิ้นส่วนรถไถนั้น ส่วนของหัวทำมาจากชิ้นส่วนของรถไถมีลักษณะเป็นเหล็ก ซึ่งคนสมัยก่อนมีการนำวัตถุเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ สะท้อนให้เห็นว่าเครื่องมือต่าง ๆ ในอดีตก่อนที่จะมีการผลิตขายแบบสำเร็จรูปนั้น มนุษย์ก็อาศัยสิ่งชองหรือวัตถุต่าง ๆ ที่มีอยู่นำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ
รูป 2 ขวานที่ทำมาจากชิ้นส่วนรถไถ และ ขวานหัวค้อน
หมายเหตุ. จาก ณ นิทรรศการช่างคิด ช่างทำ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ขวานหัวค้อน เป็นเครื่องมือที่ผสมผสานระหว่างขวานและค้อนในอุปกรณ์เดียวกัน ทำให้มีความสะดวกและหลากหลายในการใช้งาน ขวานหัวค้อนมักมีด้านหนึ่งเป็นใบมีดขวานสำหรับตัดหรือหั่นไม้ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นหัวค้อนสำหรับตอกตะปูหรือทำลายวัตถุอื่นๆ ที่ต้องการแรงกระแทก เครื่องมือนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในงานช่างไม้ งานก่อสร้าง หรือกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การตั้งแคมป์หรือการเดินป่า เพราะช่วยลดจำนวนเครื่องมือที่ต้องพกพา โดยสามารถใช้ทั้งในการตัดไม้เพื่อทำเชื้อเพลิงหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว และใช้งานค้อนสำหรับตอกหรือถอดตะปู เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/ขวาน
http://ma-sasom.lnwshop.com/article/13//รีวิวผานไถนาโบราณ
https://stonetoolsmuseum.com/tool-type/handaxes/
https://stonetoolsmuseum.com/tool-type/axes-clubs/
https://thailandoutdoorshop.com/pages/axes-innovation
https://thailandoutdoorshop.com/pages/axes-forged-with-tradition