วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อฝึกอบรมบุคลากรให้มีสมรรถนะเป็นนักจัดการเอกสารโบราณ
วัตถุประสงค์สมรรถนะ 1. เพื่อฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารโบราณ 2. เพื่อฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะการอนุรักษ์เอกสารโบราณเบื้องต้น 3. เพื่อฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะการทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ 4. เพื่อฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะการจัดการเอกสารโบราณสู่ดิจิทัล
ผลผลิต(Output) ผู้ผ่านการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับเอกสารโบราณ การสำรวจและทำความสะอาด การทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณด้วยกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง การจัดการไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ศึกษาได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลลัพธ์ (Outcome) ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้พัฒนา และประยุกต์ใช้ตามการปฏิบัติงานในแต่ละสถานที่ สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการอบรม และการปฏิบัติในพื้นที่ให้กับผู้อื่นต่อได้
- ครู/อาจารย์
- นักวิจัย
- ผู้ปฏิบัติงานทางวัฒนธรรม
- นักศึกษาระดับปริญญาตรี
- บุคคลทั่วไป
คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1. มีความรู้พื้นฐานทางด้านเอกสารโบราณ 2. มีทักษะพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจัดการภาพ และการถ่ายภาพดิจิทัล 3. มีความคิดที่จะนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่
- นาย ดอกรัก พยัคศรี หน่วยงาน
- นางสาว นิสา เชยกลิ่น หน่วยงาน
- นาย ศุภกรานต์ พุ่มพฤกษ์ หน่วยงาน
เอกสารโบราณ มีความสำคัญในฐานะที่เป็นหลักฐานอันประกอบด้วยภาษาและตัวหนังสือแต่เก่าก่อน ซึ่งสำเร็จด้วยหัตถกรรม เป็นเอกสารที ่บันทึกสรรพวิชาการของบรรพชนไทยด้านประวัติศาสตร์ของชาติอารยธรรมของสังคมกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย รวมถึงวรรณกรรม วัฒนธรรม จริยธรรม และคุณธรรม ซึ่งเป็นแบบอย่างของอดีตอันเป็นพื้นฐานของสังคมในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สืบทอดมาถึงอนุชนในยุคปัจจุบัน เป็นผลงานอันเกิดจากภูมิปัญญาของบรรพชน ที่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของหนังสือตัวเขียนและจารึก เอกสารโบราณเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นหลักฐานที่บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้มากมาย เป็นเอกสารวิชาการอันสำคัญยิ่ง ใช้เป็นข้อมูลศึกษาวิจัยเรื่องต่างๆเป็นต้นว่า รูปแบบอักษร ภาษา ที่ประจำอยู่ตามท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมถึงใช้เป็นหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศาสนา ศิลปะ และอักษรศาสตร์ ฯลฯ เอกสารโบราณจึงเป็นความรวมที่ใช้เรียกหนังสือต้นฉบับตัวเขียน ตัวชุบ ตัวจาร และตัวจารึก
หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ที่มาและความสำคัญของเอกสารโบราณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ประเภทของเอกสารโบราณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อักษรและภาษาในเอกสารโบราณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เนื้อหาในเอกสารโบราณ
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายที่มาและความสำคัญของเอกสารโบราณได้อย่างถูกต้อง 2. อธิบายประเภทของเอกสารโบราณได้อย่างถูกต้อง 3. อธิบายอักษรและภาษาในเอกสารโบราณได้อย่างถูกต้อง 4. อธิบายเนื้อหาของเอกสารโบราณอย่างคร่าวได้
ตัวชี้วัดสมรรถนะ 1. มีความรู้ ความเข้าใจที่มาและความสำคัญของเอกสารโบราณ 2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภท อักษร ภาษา และเนื้อหาของเอกสารโบราณ 3. มีความตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารโบราณ 4. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์เอกสารโบราณ
ขอบข่ายเนื้อหาวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - 4
กิจกรรมการเรียนรู้ 1. เรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อการเรียนการสอน 2. รับฟังการบรรยายอย่างมีส่วนร่วม 3. เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ 4. แบ่งกลุ่มเพื่อระดมสมอง
สื่อประกอบการฝึกอบรม 1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. สื่อนำเสนอการบรรยาย Power point 3. ใบงาน Work Sheet
การวัดและประเมินผล 1. การสังเกต 2. แบบทดสอบ 3. การประเมินใบงาน
การจัดทำแบบบันทึกสำหรับกรอกข้อมูลเอกสารโบราณ เพื่อให้รายละเอียดข้อมูลจำเพาะของเอกสารโบราณ อาทิ รหัสเอกสาร สถานที่ ประเภทเอกสาร อักษร หมวด ขนาดเอกสาร วันที่สำรวจ เป็นต้น โดยขั้นแรกจะใช้แบบบันทึกการสำรวจเอกสารโบราณฉบับลงพื้นที่บันทึกด้วยลายมือสะดวกในการแก้ไข จากนั้นเมื่อกลับมาจัดการข้อมูลจะทำการแปลงให้เป็นไฟล์เอกสารดิจิทัลเพื่อจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล จากการสำรวจเอกสารโบราณพบว่าเอกสารโบราณจำนวนมากถูกเก็บรวมไว้ในกล่อง ตู้คัมภีร์บางที่อาจไม่ให้ความสำคัญจึงปล่อยปละละเลย ขาดการดูแล หรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ ทำให้เอกสารโบราณจมอยู่ในกองฝุ่น ขี้จิ้งจก ถูกหนูและแมลงกัดแทะ ฝนตกน้ำรั่วซึมเข้าเอกสาร หรือถูกนำไปเขียนทับโดยผู้ไม่รู้ฉีกขาดหลุดออกจากตัวเล่มหรือนำไปเป็นมวลสารในการสร้างวัตถุมงคล เป็นต้น การทำความสะอาดเอกสารโบราณใบลานและสมุดไทยมีความแตกต่างกัน เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำเอกสารฯ เป็นคนละชนิด และการจัดเก็บด้วยการห่อผ้าใหม่ให้กับเอกสารโบราณ
หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การจัดการเอกสารโบราณแบบครบวงจร หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การจัดทำทะเบียนเอกสารโบราณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การอนุรักษ์เอกสารโบราณเบื้องต้นประเภทคัมภีร์ใบลาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การอนุรักษ์เอกสารโบราณเบื้องต้นประเภทหนังสือสมุดไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การห่อผ้าใหม่ให้คัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เข้าใจวงจรชีวิตข้อมูลสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ 2. ทำทะเบียนเอกสารโบราณได้อย่างถูกต้อง 2. อนุรักษ์เอกสารโบราณเบื้องต้นประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย 3. จัดเก็บและห่อผ้าใหม่ให้คัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย
ตัวชี้วัดสมรรถนะ 1. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องทะเบียนเอกสารโบราณได้อย่างถูกต้อง 2. อนุรักษ์เอกสารโบราณเบื้องต้นประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทยได้ 3. จัดเก็บและห่อผ้าใหม่ให้คัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทยได้
ขอบข่ายเนื้อหาวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - 5
สื่อการฝึกอบรม 1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. สื่อนำเสนอการบรรยาย Power point 3. สื่อวีดิทัศน์การอนุรักษ์เอกสารโบราณเบื้องต้น 4. อุปกรณ์การทำความสะอาดเอกสารโบราณเบื้องต้น
การวัดและประเมินผล 1. การสังเกต 2. แบบทดสอบ
ในปัจจุบันสังคมเริ่มมีการตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของเอกสารโบราณเป็นอย่างมาก เพราะในหลายภาคส่วนเล็งเห็นแล้วว่าเอกสารโบราณเป็นสิ่งที่ใช้บันทึกเรื่องราว ภูมิปัญญา ของบรรพบุรุษ และถือว่าเป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญของคนไทยในอดีตซึ่งปัจจุบันได้ลืมเลือนไปบ้าง การสืบทอดส่วนใหญ่มักจะสืบทอดกันภายในครอบครัว ในสังคม แบบปากต่อปาก รุ่นต่อรุ่น ซึ่งหากขาดช่วงคนใดคนหนึ่งไปอาจทำให้ภูมิปัญญานั้นๆ สูญหายไปได้ แต่ก็มีบ้างที่ได้จดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเช่น การจดจารลงบนใบลาน สมุดข่อย เป็นต้น เนื่องจากเอกสารโบราณเป็นเอกสารที่บันทึกด้วยตัวอักษรที่ไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน ประกอบกับการเก็บรักษาของผู้ครอบครองไม่ค่อยจะดีนักเพราะไม่ได้ถูกนำมาใช้งานเลย จึงทำให้เอกสารโบราณเหล่านี้ผุผังไปก่อนเวลาอันควร นับวันเอกสารโบราณเหล่านี้จะสูญสลายไปพร้อมกับความรู้ที่บันทึกไว้ แต่ในปัจจุบัน เราสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำสำเนาและจัดเก็บองค์ความรู้ ภูมิปัญญาต่างๆ ที่อยู่ในเอกสารโบราณเหล่านั้นไว้ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลได้แล้ว การแปลงเอกสารโบราณให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัลนี้มีข้อดีคือ ง่ายต่อการจัดเก็บ การสืบค้นข้อมูล การนำไปประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆ อีกทั้งเป็นการสร้างคลังความรู้ ภูมิปัญญาบรรพบุรุษให้กับคนในสังคมรุ่นใหม่ที่กำลังดำเนินชีวิตอยู่ในวิถีดิจิทัลนี้
หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 รู้จักเครื่องมือในการทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราI หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้น หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การถ่ายภาพเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การถ่ายภาพเอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทย
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายเครื่องมือในการทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณได้อย่างถูกต้อง 2. อธิบายการเทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้น 3. อธิบายการเทคนิคการถ่ายภาพเอกสารโบราณคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย
ตัวชี้วัดสมรรถนะ 1. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเครื่องมือในการทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ 2. สามารถตั้งค่ากล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงสำหรับถ่านภาพเอกสารโบราณ 3. สามารถถ่ายภาพเอกสารโบราณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบข่ายเนื้อหาวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - 4 รู้จักเครื่องมือในการทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ
กิจกรรมการเรียนรู้ 1. เรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อการเรียนการสอน 2. รับฟังการบรรยายอย่างมีส่วนร่วม 3. เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่
สื่อการฝึกอบรม 1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. สื่อนำเสนอการบรรยาย Power point 3. สื่อวีดิทัศน์การทำสำเนาดิทัลเอกสารโบราณ 4. อุปกรณ์การทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ
การจัดการไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณเป็นขั้นตอนที่สำคัญก่อนที่จะเผยแพร่ขอมูลผ่านระบบฐานข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูลในสื่อบันทึกต่าง ๆ เมื่อได้ทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณมาแล้วในสมรรถนะที่ ๓ จะได้ไฟล์ภาพสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้องนำมาจัดการให้เป็นระบบตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อไฟล์ใหม่ตามรหัสเอกสาร จากนั้นจึงนำไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อแล้วมาปรับแสงสีภาพ ครอบภาพส่วนเกินออก ใส่ข้อมูลเมทาดาทา และข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์ลงในไฟล์ภาพ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Adobe Lightroom แล้วจัดข้อมูลไฟล์ภาพตามโฟลเดอร์แต่ละเรื่อง
หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้โปรแแกรมสำเร็จรูป Bulk Rename Utility เปลี่ยนชื่อไฟล์สำเนาดิจิทลเกสารโบราณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้โปรแแกรมสำเร็จรูป Adobe Lightroom จัดการไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายประโยชน์ของการจัดการไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณได้อย่างถูกต้อง 2. อธิบายขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อไฟล์ด้วยโปรแแกรมสำเร็จรูป Bulk Rename Utility 3. อธิบายขั้นตอนการจัดการไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Adobe Lightroom
ตัวชี้วัดสมรรถนะ 1. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ 2. สามารถเปลี่ยนชื่อไฟล์ด้วยโปรแแกรมสำเร็จรูป Bulk Rename Utility ได้ 3. สามารถจัดการไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Adobe Lightroom ได้
ขอบข่ายเนื้อหาวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - 2 การใช้โปรแแกรมสำเร็จรูป Bulk Rename Utility เปลี่ยนชื่อไฟล์
กิจกรรมการเรียนรู้
สื่อการฝึกอบรม 1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. สื่อนำเสนอการบรรยาย Power point 3. สื่อวีดิทัศน์การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการไฟล์