รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร | |
---|---|
ระยะเวลาการเรียน (Duration) | 50 ชั่วโมง |
วัตถุประสงค์ (Objective) | 1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจแนวคิดการเป็นชายขอบ คนชายขอบ และสามารถประยุกต์แนวคิดดังกล่าวในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม วิเคราะห์ และถอดรื้ออคติที่มีต่อคนชายขอบโดยไม่รู้ตัว |
ประโยชน์ที่จะได้รับ (Benefit) | 1. ทำความเข้าใจแนวคิดการเป็นชายขอบ คนชายขอบ และสามารถประยุกต์แนวคิดดังกล่าวในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม วิเคราะห์ และถอดรื้ออคติที่มีต่อคนชายขอบโดยไม่รู้ตัว |
เหมาะสำหรับ (Target group) |
- ครู/อาจารย์ - นักวิจัย - นักศึกษาระดับปริญญาตรี - บุคคลทั่วไป - นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา |
คุณสมบัติผู้เรียน (ถ้ามี) | |
ผู้สอน (Instructor) |
- รองศาสตราจารย์ ดร. บุญเลิศ วิเศษปรีชา หน่วยงาน คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
แนวทางการใช้งาน (Learning and teaching guideline) (ถ้ามี) |
เริ่มต้นด้วยการศึกษา แนวคิดคนชายชอบ และการทำให้เป็นชายขอบ ให้ผู้เรียน เห็นความสำคัญของแนวคิดการเป็นชายขอบที่ชี้ให้เห็นว่า การเป็นชายขอบไม่ใช่สภาวะธรรมชาติ แต่เกิดจากกระบวนการทำให้เป็นชายขอบ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐ ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และการครอบงำทางวัฒนธรรม
อ่าน
1. สุริชัย หวันแก้ว. 2546. กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
2. อานันท์ กาญจนพันธุ์. 2549. การต่อสู้เพื่อความเป็นคนของคนชายขอบในสังคมไทย. ใน อยู่ชายขอบ มองลอดความรู้: รวมบทความเนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี, ฉลาดชาย รมิตานนท์, อานันท์ กาญจนพันธุ์ (บ.ก.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
3. ชูศักดิ์ วิทยาภัค. 2541. สังคมศาสตร์กับการศึกษาคนชายขอบ. สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 11(1): 2-25.
ดู
การย้อนทวนกลับไปทำความเข้าใจแนวคิดคนชายขอบ (Marginal Man) ยุคแรกจำสำนักชิคาโก (Chicago School) คนชายขอบคือคนย้ายถิ่นจากสังคมเดิมและยังรู้สึกแปลกแยกกับสังคมใหม่ เช่น ผู้ย้ายถิ่นจากชนบทเข้าเมือง จึงมักแสวงหาพื้นที่พักพิงทางจิตใจ
อ่าน
1. อุกฤษณ์ จอมยิ้ม. 2559. พื้นที่สถานบันเทิง อีสานลำซิ่ง พื้นที่แสดงตัวตนของคนอีสานไกลถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 28(2): 65-103.
2. ฉัตรมงคล มูลนิลตา. 2559. “ร้านน้ำชา”: พื้นที่แสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของมุสลิมพม่าในสภาวะการเป็นชายขอบ กรณีศึกษาชุมชนช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่. ภาคนิพนธ์สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. อุกฤษณ์ เฉลิมแสน. 2563. การต่อรองอัตลักษณ์อีสานของวัยรุ่นอีสานยุคโลกาภิวัตน์.
วารสารบัณฑิตอาสาสมัคร 3(1) : 1-39.
4. คลาวดิโอ โซปรันเซ็ตติ. 2563. ตาสว่าง. กรุงเทพฯ: อ่านอิตาลี.
การศึกษากลุ่มคนจนในเมืองที่ถูกทำให้เป็นชายขอบในบริบทของเมือง ได้แก่ คนในสลัมหรือชุมชนแออัด ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ที่อยู่ของผู้มีรายได้น้อยเท่านั้น แต่ยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ซึ่งไร้ระเบียบ ไม่ปลอดภัย แหล่งอาชญกรรม ยาเสพติด ทั้งๆ ที่ แรงงานอาชีพของคนในชุมชนแออัด ล้วนจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของเมือง
อ่าน
1. บุญเลิศ วิเศษปรีชา. 2565. วัฒนธรรมความยากจน. (เอกสารอัดสำเนา บุญเลิศ).
2. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. 2542. วิวัฒนาการของชุมชนแออัด และองค์กรชุมชนแออัดในเมือง กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่. ใน ชุมชนแออัด: องค์ความรู้กับความเป็นจริง, อคิน รพีพัฒน์ (บก.) กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
3. สันต์ สุวัจฉราภินันท์. 2555. การดำรงอยู่ของพื้นที่ชายขอบในเมืองสมัยใหม่. หน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
4. บุญเลิศ วิเศษปรีชา. 2565. “คนสลัม” เพื่อนบ้านที่เราไม่ค่อยรู้จัก.
https://decode.plus/20220914-slum/
5. นฤมล นิราธร. 2557. การจัดการการค้าขายหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร: ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ. วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 33(2): 47-72.
ดู
เด็กเร่ร่อนหรือเด็กข้างถนนเคยมีอยู่จำนวนมากในช่วงทศวรรษ 2530 ปัจจุบันจำนวนน้อยด้วยนโยบายที่ปรับปรุงและพัฒนาจากการเข้าใจเด็กมากขึ้น ส่วนคนไร้บ้านเดิมเคยถูกเรียกว่าคนเร่ร่อนคนจรจัด ถูกมองเป็นคนแปลกปลอมในพื้นที่สาธารณะของเมือง แต่มีงานทางด้านมานุษยวิทยาช่วยทำให้เข้าใจคนไร้บ้านมากขึ้น แทนที่จะมองอย่างอคติ
อ่าน
1. บุญเลิศ วิเศษปรีชา. 2546. โลกของคนไร้บ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
หรือ บุญเลิศ วิเศษปรีชา. 2546. วิถีชีวิตของคนไร้บ้าน: ความหลากหลาย ณ ชายขอบของเมือง. วารสารปาริชาติ 15(2): 43-73
2. บุญเลิศ วิเศษปรีชา. 2564. พลวัตของอคติและการตอบโต้อคติที่มีต่อ “ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย” ใน ส่องอคติ 2 ความเป็นมนุษย์กับภูมิทัศน์อคติไทย, นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บ.ก.). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. น. 47-96.
3. รณภูมิ สามัคคีคารมย์. 2560. นิยาม และมายาคติกับความเป็นจริงของคนไร้บ้านผ่านการสำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสังคม 40 (2): 155-188.
4. สมพงษ์ จิตรระดับ. 2540. วัฒนธรรมเด็กเร่ร่อนในท้องถนน. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. วันดี กริชอนันต์. 2544. บางส่วนของชีวิตเด็กข้างถนน. ใน ชีวิตชายขอบ ตัวตนกับความหมาย, ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บก.). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. น.260-305.
ดู
วัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างการแสวงหาและการแสดงตัวตน การแสดงออกและรสนิยมหลายอย่างของวัยรุ่นจึงมักถูกมองจากผู้ใหญ่อย่างไม่เข้าใจ สัปดาห์เป็นการทำความเข้าใจโลกของวัยว้าวุ่น ทั้งในงานเชิงทฤษฎีวัฒธรรมวัยรุ่น เด็กแว้น และแม่วัยใส
อ่าน
1. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. 2553. วัฒนธรรมวัยรุ่น. วารสารสังคมศาสตร์ 22(1): 25-5.
2. นฤมล กล้าทุกวัน. 2554. การ hang out ของวัยรุ่นสะพานพุทธฯ: อัตลักษณ์ของวัยรุ่นในพื้นที่สาธารณะ. วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 30(1): 159-188.
4.ปนัดดา ชำนาญสุข. 2554. เร่ง รัก รุนแรง โลกของชายนักบิด. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
5. วาทินีย์ วิชัยยา. 2556. ‘ทำไมจึงท้อง’ คำถามที่หนู..ไม่อยากตอบ: ว่าด้วยประสบการณ์การคุมกำเนิด จากมุมมองของวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 32(2): 9-38.
ดู
เนื่องด้วยสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความจำเป็นที่จะเข้าใจโลกของผู้สูงอายุและลดช่องว่างของความไม่เข้าใจระหว่างคนต่างวัยจะมีความจำเป็นมากขึ้น สัปดาห์นี้จะเป็นเรื่องวัยชราที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ และความเข้าใจใหม่เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้สูงวัย
อ่าน
1. สมรักษ์ ชัยสิงห์กานนท์. 2546. ความชรา ภาพร่าง (Body Images) และการใช้ชีวิตในเมือง. ใน ชีวิตชายขอบ ตัวตนกับความหมาย, ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บ.ก.). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. น.138-183.
2. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง และ จักรี โพธิมณี. 2565. “เด็กสมัยนี้” กับ “มนุษย์ป้า”: วยาคติกับความสัมพันธ์ระหว่างวัยในสังคมไทยใน ส่องอคติ 2 ความเป็นมนุษย์กับภูมิทัศน์อคติไทย, นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บ.ก.). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. น.97-144.
3. ปณิธี บราวน์. 2557. พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและ “ทุน” ที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงวัย. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ 31(3): 97-120.
ความแตกต่างด้านสุขภาพที่ทำให้ไม่อาจจะใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เป็นที่มาของการถูกทำให้เป็นชายขอบได้เช่นกัน เนื้อหาสัปดาห์นี้ว่าด้วย ผู้พิการ ผู้ติดสุรา เพื่อชี้ให้เห็นถึงมิติด้านโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา และการช่วยเหลือที่อาจกลายเป็นการช้ำอำนาจต่อคนพิการ
อ่าน
1. นิตยา บัวสาย. 2561. คนติดสุราในนิคม โรคเรื้อน. ใน งานวิจัยวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ: สุรา ยาสูบ, สิทธิโชค ชาวไร่เงิน และบงกช เจริญรัตน์ (บ.ก.). นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ. น.45-65.
2. นวพร สามไพบูลย์. 2554. ความตาย สุรา ปัญหาเจ็บป่วยของสังคมไทย. มองคนสะท้อนโครงสร้าง รวมบทความวิชาการจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท โครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ และ พรทิพย์ เนติภารัตนกุล (บ.ก.). กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
3. ประชาธิป กะทา. 2557. ชีวการเมืองและเรือนร่างพิการ: ประวัติศาสตร์การสร้างพลเมืองที่ก้ำกึ่ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขศาลา สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส).
เพศหญิงมักเป็นเพศที่ถูกคาดหวังให้ต้องปฏิบัติตัวตามบรรทัดฐานอย่างเคร่งครัด แต่บรรทัดฐานของสังคมบางครั้งก็วางอยู่บนอคติ ภาพตายตัว ขาดพลวัต เนื้อหาสัปดาห์นี้ทำความเข้าใจผู้หญิงที่ถูกทำให้เป็นชายขอบ อันเนื่องมาจากไม่อาจทำตามบรรทัดฐานของสังคม ซึ่ง Arthur Kleinman เรียกว่า ความรุนแรงทางสังคม (social violence)
อ่าน
1. ยศ สันตสมบัติ. 2549. สตรีนิยมผิวขาว กับความเข้าใจใน “เพศสภาพ” และ เพศสัมพันธ์” ในสังคมไทย. ใน อยู่ชายขอบ มองลอดความรู้: รวมบทความเนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี ฉลาดชาย รมิตานนท์, อานันท์ กาญจนพันธุ์ (บก.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. น.138-169.
2. สภิดา วีรกุลเทวัญ. 2546. การนำเสนอความเป็นตัวตนของผู้หญิงบริการในสถานบันเทิงบาร์เบียร์ จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการเครือข่ายวิจัยปริญญาโทด้านไทศึกษา: ประเด็นคนชายขอบ, อานันท์ กาญจนพันธุ์ (ผู้ประสานงาน). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนส่งเสริมการวิจัย.
3. พรพิชา บุญบรรจง. 2547. กระบวนการกลายเป็นคนชายของของผู้หญิงที่ถูกข่มขืน กรณีศึกษาศูนย์พิทักษ์หญิง มูลนิธิเพื่อนสตรี. (รายงานการวิจัยส่วนบุคคล หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร).
4. สุไลพร ชลวิไล. 2545. หญิงรักหญิง: ผู้หญิงของความเป็นอื่น. ใน ชีวิตชายขอบ ตัวตนกับควาหมาย, ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บก.). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. น.96-137.
5. กมลชนก ขำสุวรรณ และ บุรเทพ โชคธนากุล. 2555. ครอบครัวแม่เดี่ยว: การเป็นชายขอบ และความไม่เป็นธรรมในสังคม. ใน ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย, กุลภา วจนะสาระ และกฤตยา อาชวนิจกุล (บ.ก.). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. น.319-340.
เนื่องด้วยคนในสังคมจำนวนมากยังยึดติดกับความคิดเรื่องเพศกำเนิดของมนุษย์ว่ามีเพียงสองเพศ คือชายกับหญิง ทำให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ถูกมองว่า เป็นผู้ความ “ผิดปกติ” เนื้อหาในสัปดาห์จะศึกษาทำความเข้าใจที่มาของอคติที่ทำให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกเลือกปฏิบัติในฐานะคนชายขอบในสังคม
อ่าน
1. กนกวรรณ ธราวรรณ. 2555. รัฐไทยกับชีวิตคู่แบบเพศวิถีนอกขนบ. ใน ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย, กุลภา วจนะสาระและกฤตยา อาชวนิจกุล (บ.ก.). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. น. 145-164.
2. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. 2565. พลวัตสังคมไทยกับอคติต่อคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกัน. ใน ส่องอคติ 2 ความเป็นมนุษย์กับภูมิทัศน์อคติไทย, นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บ.ก.). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. น.145-210.
3. ปณิธี บราวน์. 2557. ความหลากหลายทางเพศกับพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย: การสำรวจองค์ความรู้. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 44(2): 51-70
กลุ่มชาติพันธุ์เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นชายขอบ ในบริบทของการก่อตัวของรัฐชาติถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง เกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด และทำลายป่า อย่างไรก็ดี กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงก็มีการตอบโต้
การถูกทำให้เป็นชายเขา
อ่าน
1. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. 2546. บทบรรณาธิการ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. น.1-26.
2. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. 2541. วาทกรรมว่าด้วยชาวเขา. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 11(1): 92-135.
3. อรัญญา ศิริผล. 2546. ฝิ่นกับคนม้ง พลวัตความหลากหลายและความซับซ้อนของคนชายขอบ. ใน อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ, ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (บ.ก.). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. น.27-80
4. วาสนา ละอองปลิว. 2546. ความเป็นชายขอบและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของคนพลัดถิ่น: กรณีศึกษา
ดาระอั้งในเมืองเชียงดาว. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
5. ปริวัฒน์ ช่างคิดและสมรักษ์ ชัยสิงห์กานนท์. 2562. กลุ่มชาติพันธุ์มอแกน: ความเป็นชายขอบกับการสร้างพื้นที่ทางสังคมภายใต้รัฐชาติไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ 11(2): 261-283.
ในสังคมไทย แม้จะมีผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก กระจายอยู่หลายภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อีกทั้งยังมีชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลามที่จังหวัดชายแดนใต้มาตั้งแต่ก่อนสมัยรัฐชาติหลายร้อยปี แต่สังคมไทยยังขาดความเข้าใจ ในเรื่องนี้ สัปดาห์ว่าด้วยผู้นับถือศาสนาอิสลาม โดยเน้นชาวมลายูมุสลิมที่จังหวัดชายแดนใต้ และเสริมโดยชาวมุสลิมทั่วไป
อ่าน
ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ. 2559. มันยากที่จะเป็นมลายู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
2. อารี จำปากลาย และคณะ. 2555. มุสลิมในประเทศไทย: ชายขอบหรือเพียงแค่แตกต่าง. ใน ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย, กุลภา วจนะสาระ และกฤตยา อาชวนิจกุล (บ.ก.). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. น. 87-104.
3. ธงชัย วินิจจะกูล. 2547. บทนำเกียรติยศ: เรื่องเล่าจากชายแดน. ใน ประวัติศาสตร์ปกปิดของ3 จังหวัดชายแดนใต้ รัฐปัตตานีใน “ศรีวิชัย”เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์, สุจิตต์ วงษ์เทศ (บ.ก.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. น.2-33.
4. พัชรี กล่อมเมือง. 2562. คนชายขอบ: ชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 8(2): 1-10.
ความเป็นชายขอบไม่ได้มีเพียงมิติเดียว หากแต่คนไม่น้อยเป็นคนชายขอบเชิงซ้อนหลายมิติพร้อมกัน เนื้อหาสัปดาห์นี้ เช่น มิติด้านเพศที่ซ้อนทับกับมิติอื่นๆ เช่น ด้านศาสนา ด้านชาติพันธุ์ ชนชั้น หรือมิติด้านศาสนาซ้อนกับด้านชาติพันธุ์ที่กลายเป็นพลังของการยึดเหนี่ยวผู้คน
อ่าน
1. อัมพร หมาดเด็น. 2560. ทบทวนสถานะความคิดสตรีนิยมอิสลาม. วารสารประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ 4(1): 63-113.
2. วรัญญา เกื้อนุ่น. 2554. ความทุกข์ทางสังคมและการปรับตัวของผู้หญิงมอแกลน หลังภัยพิบัติสึนามิ. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3. จารุวรรณ คงยศ. 2560. เพศภาวะ เพศวิถี ประสบการณ์ชีวิตของกะเทยในคุก. วิทยานิพนธ์สาขาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4. สมัคร กอเซ็ม. 2559. ความเป็นชายขอบกับการรับรู้ชายแดน: วิธีวิทยาว่าด้วยพรมแดนศาสนาและชาติพันธ์ของมุสลิมในค่ายผู้ลี้ภัย. วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 35(1): 120-145.
สื่อมีบทบาทสำคัญ ทั้งในด้านการสร้างความหมายเชิงบวกหรือเชิงลบต่อคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม สัปดาห์นี้เป็นการศึกษาบทบาทของสื่อในการทำให้ผู้ประกอบอาชีพบางอาชีพ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้ต้องขังเป็นชายขอบและการต่อรองความหมาย
อ่าน
1. อภิสิทธิ์ ปานอิน. 2566. ด้วยเธอล้วนก็คือคน: กรรมกร โสเภณี วัยรุ่น และคนชายขอบ ในภาพยนตร์ไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
2. อภิชญา แก้วอุทัย. 2563. มันนิ “ซาไก”: ภาพตัวแทน ชาติพันธุ์และความเป็นชายขอบ.วารสารไทยคดีศึกษา 17 (2): 145-191.
3. เบญจรัตน์ กลิ่นขจร และ พิมลพรรณ ไชยนันท์. 2560. บทบาทของสื่อสาธารณะในการต่อรองความหมายเพื่อคนชายขอบ: กรณีศึกษา ผู้ต้องขังในประเทศไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5(2): 97-114.
4. ธนิกานต์ จิดาพันธ์. 2558. แรงงานข้ามชาติในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 35(3) : 118-137.
แรงงานข้ามชาติ จากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ทั้งๆ ที่พวกเขามาเติมช่องว่างของงานที่แรงงานไทยไม่อยากทำ กลับถูกด้อยค่า เป็นคนชายขอบในสังคมไทย เช่นเดียวกับคนงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศก็กลายเป็นคนชายขอบนั้นสังคมนั้น สัปดาห์นี้จะศึกษาประสบการณ์การเป็นชายขอบและการตอบโต้ของแรงงานข้ามชาติ
อ่าน
1.สุริยา สมุทธคุปต์และพัฒนา กิติอาษา. 2539. บทที่ 1 คนชายขอบ ชีวิตและชุมชนคนงานไทยในญี่ปุ่น. ใน คนชายขอบ: มานุษยวิทยาในสังคมโลกาภิวัตน์. นครราชสีมา: ห้องไทยศึกษานิทัศน์ สำนักเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเคทโนโลยีสุรนารี.
2.อานันท์ กาญจนพันธ์. 2560. ชีวิตไร้ตัวตนของแรงงานข้ามชาติ. ใน พื้นที่ความรู้มานุษยวิทยาคนสามัญ 70 ปี อานันท์ กาญจนพันธุ์. น.211-232.
3. อานันท์ กาญจนพันธุ์ และชัยพงษ์ เสียงดี. แรงงานข้ามชาติไทใหญ่ : พลเมืองไทยที่ยังไร้สถานะพลเมืองตามกฎหมาย. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 5 (1) : 21-49.
4. ศิลปกิจ ตี่ขันติกุล. 2555. “แรงงานเวียดนามนอกระบบ”: การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ จากจังหวัดห่าติ๊ง (เวียดนาม) สู่ประเทศไทย. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 32 (3): 173-198.
เนื่องด้วยคนชายขอบมักถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกีดกันการเข้าถึงสิทธิ หลายครั้งสิ่งเหล่านี้ถูกทำให้มองไม่เห็น และสังคมไม่ตระหนักถึง แต่ช่วงภาวะวิกฤติ คนชายขอบจะได้รับความสนใจและความช่วยเหลือน้อย เราจะเห็นความเป็นชายขอบ และการตอบโต้การเป็นชายขอบได้ชัดเจน
อ่าน
1. ศิริพร สโครบาเนค และ วรัญญา เกื้อนุ่น. 2550. ชนชั้น ชายขอบ เพศสภาพ และภัยพิบัติ: กรณีสึนามิกับผลกระทบต่อผู้หญิง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิผู้หญิง.
2. บุญเลิศ วิเศษปรีชา. 2565. การรับรู้ความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไร้บ้านในสถานการณ์โควิด-19 และความต้องการพื้นฐาน. วารสารมานุษยวิทยา 5(1) 209-251.
3. สืบสกุล กิจนุกร. 2565. “ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจังหวัดเชียงราย: ความเปราะบางเชิงโครงสร้างและทางออกในสถานการณ์โรคโควิด-19”. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.
การเคลื่อนไหวเพื่อตอบโต้ของคนชายขอบ การเป็นชายขอบไม่เพียงแต่ถูกมองอย่างมีอคติเท่านั้น แต่อคตินั้นยังนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ การถูกกีดกันการเข้าถึงทรัพยากร สิทธิในสังคม เนื้อหาสัปดาห์นี้ว่าด้วยการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์และคนพลัดถิ่น
อ่าน
กุลภา วจนสาระ. 2555. มองหาความเป็นธรรมในสังคมไทยผ่านคนชายขอบ. ใน ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย, กุลภา วจนะสาระ และกฤตยา อาชวนิจกุล (บ.ก.). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. น.17-36.
2. สุชาดา ทวีสิทธิ์. 2555. เสียงจาก “ชายขอบ”: การเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนเพื่อคนใช้ยาเสพติดในประเทศไทย. ใน ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย, กุลภา วจนะสาระ และกฤตยา อาชวนิจกุล (บ.ก.). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. น.225-246.
3. ฐิรวุฒิ เสนาคำ. 2557. การเมืองชายขอบ การเมืองไทยพลัดถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 7(7): 15-49.