รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร | |
---|---|
ระยะเวลาการเรียน (Duration) | 50 ชั่วโมง |
วัตถุประสงค์ (Objective) | 1. ผู้เรียนสามารถเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่เกี่ยวกับประเด็นสังคมร่วมสมัย 2. ผู้เรียนสามารถอธิบายและวิเคราะห์ประเด็นสังคมร่วมสมัยผ่านมุมมองทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาได้อย่างเหมาะสม |
ประโยชน์ที่จะได้รับ (Benefit) | 1. เข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่เกี่ยวกับประเด็นสังคมร่วมสมัย 2. อธิบายและวิเคราะห์ประเด็นสังคมร่วมสมัยผ่านมุมมองทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาได้อย่างเหมาะสม |
เหมาะสำหรับ (Target group) |
- ครู/อาจารย์ - นักวิจัย - นักศึกษาระดับปริญญาตรี - บุคคลทั่วไป - นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา |
คุณสมบัติผู้เรียน (ถ้ามี) | |
ผู้สอน (Instructor) |
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกวรรณ ธราวรรณ หน่วยงาน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาณิภา สุขสม หน่วยงาน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
แนวทางการใช้งาน (Learning and teaching guideline) (ถ้ามี) |
เนื้อหาในบทเรียน |
สังคมร่วมสมัยเป็นสภาวะทางสังคมแบบหนึ่งที่อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง หัวข้อนี้มุ่งสร้างความเข้าใจเบื้องต้น/ภาพรวมเกี่ยวกับการศึกษาสังคมร่วมสมัยผ่านแนวคิดหลักทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เช่น โครงสร้างสังคมและการขัดเกลาทางสังคม ภาษาและวัฒนธรรม การจัดลำดับชั้นทางสังคม รวมถึงเสนอให้เห็นประเด็นสังคมร่วมสมัยที่กำลังได้รับความสนใจจากสังคม เช่น ความไม่เท่าเทียม ความขัดแย้ง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในแต่ละสถาบันสังคม
อ่าน 1. พัทยา สายหู. 2559. การศึกษาสังคมผลไม้รวม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2. ชลิตา บัณฑุวงศ์ และ ปุรินทร์ นาคสิงห์ (บก.). 2561. สังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 3. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล และคณะ. 2565. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร 4. รังสรรค์ ประทุมวรรณ์. “โครงสร้างและการขัดเกลาทางสังคม”. ใน วสันต์ ปัญญาแก้ว (บก.) 2559. ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 5. จามะรี เชียงทอง. 2560. สังคมชนบทในโลกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดู
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
การเกิดขึ้นและการล่มสลายของความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติในสังคมใดๆ ล้วนเป็นไปตามความต้องการของคนในสังคมนั้น ทุกความต้องการประกอบกันเข้ามาทำให้เกิดขึ้น และทุกความต้องการประกอบกันเข้ามาทำให้ล่มสลาย นักมานุษยวิทยาศึกษาบรรทัดฐานของสังคมจากสิ่งที่คนในสังคมนั้นเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งใด ยอมรับหรือไม่ยอมรับปฏิบัติในสิ่งใด โดยอาจเป็นการแสดงออกโดยตรงหรือโดยนัยยะก็เป็นได้ การศึกษาบรรทัดฐานของสังคมใดในสมัยหนึ่งใด เช่น บรรทัดฐานของสังคมไทยร่วมสมัย นักมานุษยวิทยาวิเคราะห์ถึงการเกิดขึ้นของ “บรรทัดฐาน” ในสังคมไทยร่วมสมัย พร้อมทั้งวิเคราะห์การละทิ้ง “บรรทัดฐาน” ของสังคมไทยในยุคสมัยอื่นเปรียบเทียบด้วย
อ่าน 1 . บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล และคณะ. 2565. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร 2. พัฒนา กิติอาษา (บก.). 2546. มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. นครราชสีมา: สาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 3. ภรณ์ มนต์ไตรเวศย์. 2562. “การดิ้นรนของสวนเกษตรในเมืองกรณีศึกษาชาวสวนฝั่งธนบุรี” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 2 ฉบับที่ 1.
ดู |
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
ในสภาวการณ์ที่มีคำว่าบริบทเมือง บริบทชนบท สังคมออนไลน์ สังคมหลากหลาย และอื่นๆเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น มนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสังคมจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมที่มีสภาวการณ์เฉพาะเหล่านี้ตามไปด้วย การคบเพื่อนอันหมายรวมถึงช่องทางการสื่อสารกับเพื่อน แนวคิดที่เคารพความแตกต่างของบุคคล และความหมายของคำว่า “เพื่อน” อาจเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมที่มีปัจจัยเหล่านี้เข้ามาด้วยเช่นกัน การศึกษาเรื่องคบเพื่อนในสังคมไทยร่วมสมัย ซึ่งคนในสังคมมีแนวคิดและการปฏิบัติที่ไม่ได้ดำเนินไปในทางเดียวกันเสมอไปนั้น (heterogeneous society) นักมานุษยวิทยาจะศึกษาบริบทความเป็นเมือง ชนบท และการใช้เทคโนโลยีสื่อสารพร้อมกันไปด้วย
อ่าน 1. ปาริชาติ เมืองขวา และคณะ. 2563. “ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาไทย: บทบาทที่สำคัญของสถาบันการศึกษา” วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 21 ฉบับที่ 41. 2. ปารินันท์ ปางทิพย์อำไพ. 2563. “แนวทางการคบเพื่อนของเด็กและเยาวชนไทยในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพุทธบูรณาการ” วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2. 3. พิเชฐ สายพันธ์. 2562. “การศึกษาชีวิตทางสังคมและชาติพันธุ์วรรณาในบริบทเมือง” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 2 ฉบับที่ 1. 4. เรย์โนลด์ส, เครก เจ. 2550. เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และ คนสามัญ รวมบทความประวัติศาสตร์ของเครก เจ เรย์โนลด์ส. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ดู
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
วัฒนธรรมไม่ใช่แค่ผลผลิตหรือมรดกตกทอดทางสังคม แต่มีส่วนช่วยจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคม ถูกแสดงออกในฐานะเป็นปฏิบัติการทางสังคม ตลอดจนเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราทำความเข้าใจสังคมผ่านพื้นที่ของการปฏิบัติการที่แสดงออก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่ออกมาเคลื่อนไหวทางสังคมภายใต้พื้นที่กายภาพและพื้นที่สังคมออนไลน์ ความหมายเชิงสัญญะ คุณค่าและอุดมการณ์ของพวกเขามีส่วนสำคัญที่จะสะท้อนให้เห็นโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในสังคม เช่น ความเสมอภาคและไม่เสมอภาคที่พวกเขาต้องเผชิญ
อ่าน 1. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. “วัฒนธรรมวัยรุ่น”. ในวสันต์ ปัญญาแก้ว (บก.) 2559. โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2. อัจฉริยา ชูวงศเลิศ. “การศึกษาวัฒนธรรมและวัฒนธรรมศึกษา” ในบุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล และคณะ. บรรณาธิการ. 2565. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร 3. อนุสรณ์ อุณโณ และคณะ. 2566. ให้มันจบที่รุ่นเรา: ขบวนการเยาวชนไทยในบริบทสังคมและการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: แสงดาว 4. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” ในวสันต์ ปัญญาแก้ว (บก.) 2559. โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 5. กมลวรรณ ทับทิมทอง. 2565. การเคลื่อนไหวทางสังคมผ่านโซเชียลมีเดีย : ศึกษาผ่านเยาวชนปลดแอก. วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา, 22 (1): 50-70.
ดู |
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
ครอบครัวมีหลายรูปแบบ ทั้งครอบครัวแบบทางการที่ประกอบไปด้วยพ่อแม่ลูก หรือแบบไม่เป็นทางการ เช่น ขาดพ่อ ขาดแม่ ขาดลูก สังคมไทยทุกยุคสมัยประกอบด้วยครอบครัวทุกรูปแบบ เพียงแต่บางรูปแบบเป็นที่นิยมในบางยุคสมัย และอาจไม่เป็นที่ยอมรับเลยในบางยุคสมัย เหตุผลของการอุปโลกน์ให้เป็นทางการและการไม่ยอมรับครอบครัวบางรูปแบบในแต่ละยุคสมัยบ่งบอกลักษณะสังคมของยุคสมัยนั้นๆ นอกจากการศึกษาครอบครัวในรูปแบบต่างๆแล้ว นักมานุษยวิทยายังศึกษาลักษณะครอบครัวจากประเด็นเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมต่างๆด้วย การศึกษาครอบครัวในสังคมไทยในยุคสมัยใดหมายรวมถึงการศึกษาทั้งรูปแบบและลักษณะเฉพาะของครอบครัว และการให้ความสำคัญต่อรูปแบบและลักษณะเฉพาะของครอบครัวในยุคสมัยนั้นด้วย
อ่าน 1. งามพิศ สัตย์สงวน. 2552. สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาครอบครัวไทยโซ่ง. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2. สมบัติ จันทรวงศ์ และ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. บรรณาธิการ. 2519. รักเมืองไทย. เล่ม 1 ภาคประวัติศาสตร์และการเมือง ปรัชญาและการเมืองในวรรณคดี ครอบครัว การศึกษาและอุดมคติ การสาธารณสุขเพื่อมวลชน โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. 3. อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว., 2521. สังคมไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-2416). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. |
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
ครอบครัวในสังคมร่วมสมัยอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากกระบวนการทางสังคม ทำให้รูปแบบและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวต่างไปจากเดิม ดังปรากฎเช่นตัวอย่าง การเกิดขึ้นของครอบครัวทางเลือก ครอบครัวแยกกัน (เพื่อ) อยู่ การลดขนาดของครอบครัวจาก “เกิดน้อย-อายุยืน” การเพิ่มขึ้นของครอบครัวสูงวัย ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว คู่รักไร้บุตร หรือแม้แต่การครองโสด ขณะเดียวกัน ครอบครัวในสังคมร่วมสมัยก็ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างที่ส่งผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์และการดำรงอยู่ของครอบครัวในอนาคตไม่ว่าจะเป็นประเด็นความเหลื่อมล้ำระหว่างครอบครัว ภัยพิบัติ เทคโนโลยี รวมถึงพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม
อ่าน 1. วัฒนา สุกัณศีล. “ครอบครัวสมัยใหม่”. ในวสันต์ ปัญญาแก้ว (บก.) 2559. โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2. ผานิตดา ไสยรส และ อรัญญา ศิริผล. “ครอบครัว”. ในวสันต์ ปัญญาแก้ว (บก.) 2559. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมวิทยา. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 3. ภูเบศร์ สมุทรจักรและคณะ. 2565. ครอบครัวไทยในอนาคต: พ.ศ. 2583. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. 4. วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. 2560. ครอบครัวทางเลือกและการคงอยู่ของสถาบันครอบครัว. Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ (พฤษภาคม – สิงหาคม 2560 ) 5. ปาณิภา สุขสม. 2563. การแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวลูกของพ่อแม่กับคุณค่าความเป็นส่วนตัวของเด็กในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการกสทช., 5(1), 110-129. 6. ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย. ครอบครัวไทยเกิดน้อย-อายุยืน. https://www.the101.world/thai-family-report/
ดู
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
ความรักเป็นความรู้สึกและการแสดงออก มนุษย์ให้ความหมายต่อคำว่าความรักและแสดงออกถึงความรักเหมือนหรือต่างกันบ้างในแต่ละสังคมและในแต่ละยุคสมัย การศึกษาปัจจัยและบริบทอันนำมาซึ่งการให้ความหมายว่าความรักคืออะไร มีรูปแบบใดบ้าง การแสดงออกเกี่ยวกับความรักคืออย่างไรบ้าง พิธีกรรม ความเชื่อ และกฎหมายที่เกี่ยวกับความรักทั้งทางตรงและโดยนัยยะเป็นอย่างไร ตลอดจนประเด็นเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ และการจัดตำแหน่งแห่งที่ให้แก่คำว่า “ความรัก” ในรูปแบบต่างๆในสังคมเป็นอย่างไร ประเด็นเหล่านี้และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ “ความรัก” ล้วนเป็นหัวข้อการศึกษาเกี่ยวกับความรักในสังคมร่วมสมัยที่นักมานุษยวิทยาให้ความสำคัญ
อ่าน 1. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. 2563. “ความรักโรแมนติกในยุคการสร้างชาติไทยทศวรรษ 2480” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 3 ฉบับที่ 2. 2. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. 2562. “สิทธิการแต่งงานเกย์ภายใต้อํานาจปกครองของรัฐทุนนิยม” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. 3. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. 2554. “รักโรแมนติกในมุมมองสังคมวิทยามานุษยวิทยา” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 – 2. 4. อภิรัฐ คําวัง. 2554. “ปรัชญาว่าด้วยหนึ่งดวงจิตวิญญาณในสองร่างและพิธีมงคลสมรส อนันต์การัช ของชาวไทยซิกข์” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 – 2.
ดู
ภาพยนตร์แนะนำ Love Actually (2003)
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
มนุษย์มีเพศสัมพันธ์ด้วยหลายเหตุผล หาใช่เพียงการกระทำการสืบพันธุ์อันจะนำไปสู่การสืบเชื้อสายต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ นอกจากนี้ มนุษย์มิได้มีเพศสัมพันธ์เพียงกับมนุษย์เพศตรงกันข้ามกันเท่านั้น ที่สำคัญหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายชิ้นระบุว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เพศเดียวกันและการมีเพศสัมพันธ์ด้วยเหตุผลอื่นอันมิใช่เพื่อการสืบพันธุ์เป็นการปฏิบัติของมนุษย์ที่มีมาแต่อดีตกาล ไม่ใช่เรื่องของยุคใหม่สมัยใหม่แต่อย่างใด การศึกษาว่าด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ในสังคมร่วมสมัยจึงเป็นประเด็นน่าสนใจของนักมานุษยวิทยา ทั้งในเรื่องบริบทของสังคมร่วมสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตว่ามีอิทธิพลต่อความคิด ทัศนคติ และการจัดระเบียบเรื่องเพศสัมพันธ์ของมนุษย์อย่างไรบ้าง การให้ความหมายว่าเพศสัมพันธ์หมายถึงอะไร และการจัดการเรื่องเพศสัมพันธ์ตามการให้ความหมายดังกล่าวเป็นอย่างไรในสังคมไทยร่วมสมัย
อ่าน 1. กนกวรรณ ธราวรรณ. 2562. “ความเป็นเพศในสังคมเมืองกรุงเทพ” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 2 ฉบับที่ 1. 2. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์. 2565. “เซ็กส์ในนคร: การเมืองเรื่องพื้นที่ งานบริการทางเพศ และแรงงานข้ามชาติชาวไทยในเนเธอร์แลนด์” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2. 3. ชุติมา ประกาศวุฒิสาร. 2554. “บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน: การโหยหาอดีตและการสร้างจินตภาพให้กับสตรีในนวนิยายแม่เบี้ย” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 – 2 4. สันต์ สุวัจฉราภินันท์. 2554. “ชั่วคราวหรือค้างคืนตลอดไป” วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1– 2
ดู |
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
บทบาทและตัวตนของผู้หญิงในฐานะเมียและแม่เป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจโครงสร้างและสถาบันทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐ การแพทย์ เศรษฐกิจ สื่อมวลชน กฎหมายและศีลธรรมที่มีส่วนกำหนดบทบาทและตัวตน รวมถึงสร้างชุดมายาคติต่างๆ เกี่ยวกับการเป็นเมียและแม่ที่สังคมยอมรับหรือต่อต้าน แต่ขณะเดียวกัน อำนาจที่ว่าก็ไม่ได้ครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเสมอไป หาแต่ถูกท้าทาย ช่วงชิงความหมาย และถูกตอบโต้กลับโดยผู้หญิงในหลากหลายรูปแบบ
อ่าน 1. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. 2566. ครรภ์แห่งชาติ : รัฐเจริญพันธุ์ ร่างกายและเพศวิถี. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 2. ทวีลักษณ์ พลราชม. 2561. "ผู้หญิงอยุธยา" สิ่งซุกซ่อนทางประวัติศาสตร์ ความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็นคน. Asian Journal of Arts and Culture. 17, 1. 3. ภัทรพรรณ ทำดี. 2559. “ให้คุณค่า” “สนับสนุน” แต่อย่า “ตีตรา”: หนทางสู่การสร้างสังคมที่เอื้อต่อ “ความเป็นแม่”. วารสารวิจัยสังคม. 39, 2. 4. อุไร ไชยเสน และสมสุข หินวิมาน. 2561. การประกอบสร้างมายาคติความเป็นแม่ของ “แม่ที่ เบี่ยงเบน” และ “ผู้เลี้ยงดูประหนึ่งแม่” ในละครโทรทัศน์. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต. 12, 1. 5. ศิรสา ชลายนานนท์และอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. 2564. การสื่อสารค่านิยมความเป็นเมียและค่านิยมอื่นของคนไทยในละครโทรทัศน์ยุคดิจิทัลเรื่อง “เมีย 2018”. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11,1.
ดู
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
เพศวิถีเป็นเรื่องส่วนบุคคล สังคมไทยร่วมสมัยยอมรับเพศสภาพโดยกำเนิดชายหญิงและเพศสภาพที่มนุษย์ปัจเจกบุคคลกำหนดเองได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเพศสภาพที่ต่างจากเพศกำเนิดที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศและการใช้ฮอร์โมนช่วยปรับสภาพร่างกายแล้ว หรือเพศสภาพที่ต่างจากเพศกำเนิดโดยยังคงลักษณะเพศสภาพโดยกำเนิดไว้หมือนเดิมก็ตาม การระบุด้วยตนเองว่าตนเองเป็นมนุษย์เพศใด หรือการไม่กำหนดความเป็นเพศของตนเองเลย เป็นสิ่งที่มนุษย์หลายคนในสังคมไทยร่วมสมัยกระทำมากขึ้น เพศวิถีในสังคมโลกและสังคมไทยร่วมสมัยเป็นเรื่องส่วนบุคคลและก้าวลึกไปสู่ความเป็น “นอกขนบ” ยิ่งกว่าคำว่าเพศสภาพ เพศวิถีเป็นความพึงพอใจส่วนตน ไม่เลียนแบบวิถีของผู้อื่นแม้มีต้นแบบให้เห็น ตัวอย่างเช่น ชายโดยกำเนิดอาจแปลงเพศเป็นหญิง และสัมพันธ์กับหญิงที่แปลงเพศเป็นชาย โดยตนเองยังคงแสดงออกเป็นชายในร่างของหญิงที่แปลงเพศแล้วตามใจชอบของตน โดยไม่แสดงออกอ่อนช้อย “สมหญิง” ตามเพศที่ได้แปลงมาแล้ว การแสดงออกของความสัมพันธ์นี้จึงดูเหมือนเป็นชายรักชาย แต่กลับไม่กำหนดตนว่าเป็นชายรักชาย (เพราะไม่ใช่) เป็นต้น
อ่าน 1. กนกวรรณ ธราวรรณ. 2560. “ศัลย์สร้าง: ความงามบนเส้นด้าย” ใน นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บรรณาธิการ). เมื่อร่างกลายเป็นเพศ. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2. ธาวิต สุขพานิช. 2558. 108 เรื่องที่หญิงไทยควรรู้ (แต่ไม่เคยรู้เพราะหลงนึกว่ารู้ๆดีกันอยู่แล้ว). กรุงเทพ: จักรวาลวิทยา. 3. กนกวรรณ ธราวรรณ. 2555. “รัฐไทยกับชีวิตคู่แบบเพศวิถีนอกขนบ” ใน ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดู
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
ปัจจุบันวัฒนธรรมเกี่ยวกับสุขภาพของผู้คนสมัยใหม่อาศัยเทคโนโลยีรวมถึงบทบาทจากสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์มากขึ้น วัฒนธรรมสุขภาพร่วมสมัยจึงซับซ้อน ผสมผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ความรู้จากท้องถิ่น ภูมิปัญญาดั้งเดิม รวมถึงเทคโนโลยีและการแพทย์สมัยใหม่ วัฒนธรรมสุขภาพจึงไม่ได้มีแต่บทบาทของมนุษย์เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องอาศัยสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์เข้ามามีส่วนในการดูแลและรักษา นอกจากนี้ วัฒนธรรมสุขภาพยังต้องคำนึงถึงความต้องการของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน รวมถึงยังให้ความสำคัญต่อบางประเด็นที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญ เช่น ประเด็นในเชิงศีลธรรมของการดูแลสุขภาพที่ไม่ได้เกิดขึ้นในระดับตัวปัจเจกเท่านั้น หากแต่เกี่ยวข้องกับการเห็นอกเห็นใจ การรับผิดชอบ การเป็นประจักษ์พยาน และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวระหว่างผู้ดูแลและผู้รับการดูแล อันนำไปสู่การบ่มเพาะตัวตน (self-cultivation) ในการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย
อ่าน 1. สามารถ ใจเตี้ย. 2557. วัฒนธรรมสุขภาพ : Health culture.วารสารข่วงผญา. 14. 2. พัชรินทร์ สิรสุนทร. 2559. วัฒนธรรมกับสุขภาพ. เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ “วัฒนธรรมกับสุขภาพ” แหล่งสืบค้น http://www.socsci.nu.ac.th/th/wpcontent/uploads/2015/09/CultureAndHealth.pdf 3. ปาณิภา สุขสม. 2565. “การฝากไข่”: ชีวการแพทย์สมัยใหม่กับการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง, https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/403 4. ภัทรพรรณ ทำดี. 2564. มองรอบทิศกับชีวิตและสุขภาพของผู้หญิง : แนวทางในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 47(2): 7-29 (2564) 5. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2549. พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 6. ชัชชล อัจนากิตติ. 2564. มานุษยวิทยาของการใส่ใจดูแล (Anthropology of Care) https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/274 7. อาเธอร์ ไคลน์แมน. 2565. วิญญาณของการดูแล: การบ่มเพาะทางศีลธรรมของแพทย์คนหนึ่ง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา (โครงการจัดพิมพ์คบไฟ)
ดู
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
นักมานุษยวิทยาที่ศึกษามนุษย์ในโซเชียลมีเดีย เช่น ศึกษาแนวคิด ความเชื่อ พฤติกรรม ของ “บุคคล” ในโซเชียลมีเดีย จะศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นเหล่านี้ เฉพาะชีวิตในโซเชียลมีเดีย ของ บัญชีผู้ใช้ หรือ account เท่าที่ปรากฎในโซเชียลมีเดียเท่านั้น นอกจากนี้ การศึกษาบริบทชีวิตและสิ่งแวดล้อมของบัญชีผู้ใช้นั้น ก็จะศึกษาเฉพาะเท่าที่ปรากฎในโซเชียลมีเดียเช่นกัน การศึกษาจะไม่ตั้งคำถามว่าตัวจริงของบัญชีผู้ใช้ดังกล่าวคิดเห็นอย่างไร และ/หรือ เปรียบเทียบความเห็น offline และ online ของบุคคลดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร ยกเว้นการศึกษาโซเชียลมีเดียชิ้นนั้นต้องการเปรียบเทียบพฤติกรรม offline และ online อย่างมีนัยยะสำคัญ ปัจจุบันนักมานุษยวิทยาศึกษาชีวิตมนุษย์ในโซเชียลมีเดียมากขึ้น หรือเรียกว่างานสนามของนักมานุษยวิทยาเป็นการศึกษาชีวิตเสมือนจริง (cyborg) มากขึ้นตามเทคโนโลยีในชีวิตมนุษย์ที่เปลี่ยนไป
อ่าน 1.จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. 2564. “ชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัล: ความท้าทายและแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. 2. ฐานิดา บุญวรรโณ. 2562. “ความสําคัญของ Serendipity (โชคดีที่บังเอิญค้นพบ) ในการทํางานภาคสนามทางมานุษยวิทยา” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. 3. นิติ ภวัครพันธุ์. 2563. “ปัญญาประดิษฐ์กับอคติทางสังคม-วัฒนธรรม” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม). 4. วสันต์ ปัญญาแก้ว. 2564. “จากปรัชญาหลังมนุษย์สู่มานุษยวิทยาไซบอร์ก” วารสารมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. |
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล มีบทบาทต่อสังคมและวัฒนธรรม และยังส่งผลต่อวิถีชีวิต ความสัมพันธ์กับผู้คน รวมถึงความเป็นมนุษย์ของเราอย่างมาก สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีแนวทางศึกษาหลากหลายเพื่อทำความเข้าใจชีวิต ความสัมพันธ์ และความเป็นมนุษย์ในวัฒนธรรมดิจิตัล นับตั้งแต่เรื่องระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาใช้ ตัวตน อัตลักษณ์ การก่อตัวของชุมชนและสังคม ประสบการณ์และอารมณ์ต่างๆ รูปแบบวัฒนธรรมในสื่อ ประเด็นอำนาจและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้วัฒนธรรมดิจิตัล
อ่าน 1. วสันต์ ปัญญาแก้ว. “สื่อและชีวิตประจำวันในโลกสมัยใหม่” ในในวสันต์ ปัญญาแก้ว (บก.) 2559. โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. 2562. การศึกษาวัฒนธรรมในโลกไซเบอร์ดิจิทัล. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (มหาชน). 3. วิลาสินี พนานครทรัพย์. 2560. วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาในชุมชนออนไลน์. วารสารธรรมศาสตร์. 36 (2) : 58-76. 4. จุลนี เทียนไทย และคณะ. 2563. การสร้างความเข้าใจในคุณลักษณะ พฤติกรรมและทัศนคติในอนาคตของชาวดิจิทัลไทย. นนทบุรี : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์ 5. บอยด์, ดานาห์. เข้าใจโลกใหม่ของวัยรุ่นยุควุ่นเน็ต. กรุงเทพฯ : บุ๊คสเคป, 2561. 6. แดเนียล มิลเลอร์. 2562. Why We Post: ส่องวัฒนธรรมโซเชียลมีเดียผ่านมานุษยวิทยาดิจิทัล, ฐณฐ จินดานนท์ (แปล). กรุงเทพฯ.
ดู
ภาพยนตร์แนะนำ The Net (1995)
The social network (2010)
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
อาชญากรรมเป็นปรากฎการณ์หนึ่งที่ถูกพิจารณาในฐานะปัญหาสังคม และมีความซับซ้อนในตัวเองเพราะการดำรงอยู่ของมันสะท้อนความเชื่อมโยงกับปัจจัยส่วนบุคคล รวมถึงโครงสร้างและกระบวนการทางสังคม ตลอดจนปัจจัยเชิงสังคมวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกด้านหนึ่งของอาชญากรรมจึงอยู่ในฐานะปัญหาเชิงวิชาการซึ่งต้องบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อทำความเข้าใจเบื้องหลังความเป็นมา การเชื่อมโยงปัจจัยและตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ตลอดจนวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม
อ่าน 1. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. 2551. สังคมวิทยาอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ปาณิภา สุขสม. 2566. มานุษยวิทยากับการศึกษาอาชญากรรม. แหล่งสืบค้น https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/423 3. ปาณิภา สุขสม. 2558. แนวคิดทางสังคมวิทยากับการศึกษาอาชญากรรม, วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ , 4(3), 293-306. 4. อัณณพ ชูบำรุงและอุนิษา เลิศโตมรสกุล. 2555. อาชญากรรมและอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5. อัจฉรียา ชูตินันทน์. 2563. อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
ดู
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
อคติเป็นความรู้สึกแบบหนึ่งของมนุษย์ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นผ่านความแตกต่างทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลักษณะทางชีวภาพ เพศและเพศสภาพ วัย เชื้อชาติและชาติพันธุ์ รวมถึงการมีวิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรมในพื้นที่ที่แตกต่างกัน อคติที่เกิดขึ้นมีผลนำไปสู่การกีดกัน แบ่งแยกความรุนแรงและความขัดแย้ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ สตรี แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชนชาติพันธุ์ คนไร้บ้าน หรือแม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขความขัดแย้งที่มีในสังคม
อ่าน 1. ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด. 2561. เหยื่ออาชญากรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ราชมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 2. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2549. วัฒนธรรมไร้อคติ ชีวิตไร้ความรุนแรง. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 3. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (บก.) 2565. หนังสือชุดส่องอคติเล่ม 1 และส่องอคติ เล่ม 2.กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 4. ขวัญชีวัน บัวแดง. “กลุ่มชาติพันธุ์ในโลกสมัยใหม่.” ในวสันต์ ปัญญาแก้ว (บก.) 2559. โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาพยนตร์แนะนำ Gattaca (1997)
Hotel Rwanda (2004)
|
---|
เนื้อหาในบทเรียน |
การให้ความหมายต่อเรื่องใดและการปฏิบัติตนของมนุษย์โดยเชื่อมโยงกับการให้ความหมายเหล่านั้นคือวิถีแห่งการศึกษาและเข้าใจมนุษยชาติของนักมานุษยวิทยา การให้ความหมายต่อเรื่องใดดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่การให้คำจำกัดความเชิงภาษา แต่เป็นการน้อมรับความหมายเหล่านั้นเป็นสรณะในการดำเนินชีวิต การศึกษาเพื่อเข้าใจความหมายที่มนุษย์ในสังคมไทยร่วมสมัยใช้เป็นสรณะในเรื่องใดๆ เช่น ประชาธิปไตย คนรวย ชีวิตประจำวัน จึงต้องอาศัยการทำความเข้าใจ การใช้ชีวิต ของมนุษย์ในสังคมไทย ในแง่มุมที่เชื่อมโยง “คำ” ดังกล่าวเข้ามาในชีวิตประจำวันทุกวันของพวกเขา
อ่าน 1. ณรงค์ชัย อัครเศรณี และ รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. บรรณาธิการ. 2519. รักเมืองไทย. เล่ม 2 ภาคเศรษฐศาสตร์ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 2. ณัฐจรี สุวรรณภัฏ. 2558. “สังคมวิทยาชีวิตประจำวัน: รอยต่อ-รอยตัด แนวทัศน์ทางสังคมวิทยาในงานศึกษาสังคมไทยร่วมสมัย วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา ปีที่ 34 ฉบับที่ 2. 3. ศรีศักร วัลลิโภดม. เรียบเรียงเมื่อ 6 มิถุนายน 2559. เปิดประเด็น: สิ้นศีลสิ้นแผ่นดินสิ้นชาติสิ้นมนุษย์: “สยามาวสาน” https://lekprapai.org/home/view.php?id=961
ดู
|
---|